ฮาล เดรเปอร์ 1960

Hal Draper

สองวิญญาณของสังคมนิยม*

โดย ฮาล เดรเปอร์
แปลโดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และจิระยุทธ คงหิ้น

วิกฤตของสังคมนิยมในยุคปัจจุบันนั้นเป็นวิกฤตของ ความหมาย ของสังคมนิยม นี่คือครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกที่คนใหญ่ของโลกเรียกตัวเองว่า “นักสังคมนิยม” ไม่ว่าจะในความหมายใดก็ตาม แต่ไม่เคยจะมีเวลาใดที่เขาเหล่านั้นจะบอกว่ามันมีความหมายที่ชัดเจนอย่างไร ความหมายที่มีร่วมกันของสังคมนิยมที่นับว่าใกล้เคียงที่สุดแม้จะเป็นความหมายเชิงลบ ก็คือ การต่อต้านทุนนิยม ส่วนในด้านความหมายเชิงบวกนั้นมันมีความขัดแย้งแตกต่างมากมายของบุคคลต่างๆที่เรียกตนเองว่านักสังคมนิยม และความแตกต่างภายในแนวทางสังคมนิยมเองก็มากเสียยิ่งกว่าความขัดแย้งแตกต่างของแนวคิดในโลกของนายทุนเองเสียอีก

แม้ว่าเราแทบจะหาสิ่งที่มีร่วมกันของแนวคิดที่ต้านทุนนิยมได้ยากขนาดไหน ในส่วนหนึ่งของแนวทางที่เรียกตัวเองว่าสังคมนิยม คือ แนวทางพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยนั้นกลับทำลายข้อเรียกร้องของแนวทางสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง (และแตกต่างจากทุนนิยม-ผู้แปล) ลงอย่างสิ้นเชิง โดยกลับให้สัญญาว่าจะปกป้องธุรกิจเอกชนมากเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างที่ดีที่สุดของแนวทางนี้ก็คือ พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมัน (“ในฐานะที่เป็นแนวคิด, ปรัชญา และขบวนการทางสังคมนั้น สังคมนิยมได้ปราศจากพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนอย่างแท้จริงไปเสียแล้ว” คำกล่าวในหนังสือ พรรคสังคมนิยมในเยอรมัน ของ ดี.เอ. ชาลเมอร์ส) แต่อย่างไรก็ตาม พรรคเหล่านี้ก็ยังคงเรียกตัวเองว่าสังคมนิยม แม้แนวทางของพรรคจะเป็นไปตามแนวทาง ทั้งหมด ของแนวสังคมนิยมปฏิรูป หากเป็นเช่นนี้เราจะสามารถเรียกพรรคเหล่านี้ว่า “สังคมนิยม” ได้หรือไม่?

ในส่วนอื่นๆของโลกนั้นได้มีรัฐคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นมากมาย ปึ่งเรียกตัวเองว่า “สังคมนิยม” ตามความหมายเชิงลบที่ต้องการทำลายระบบกำไรเอกชนของนายทุน และก็เป็นความจริงที่ว่าชนชั้นที่ทำหน้าที่ปกครองของรัฐเหล่านี้ก็มิได้เป็นผู้ถือครองทรัพย์สินส่วนตัวด้วย กล่าวในเชิงบวกแล้วในเชิงระบบเศรษฐกิจสังคมที่มาแทนที่ระบบทุนนิยมในรัฐเหล่านี้กลับไม่ใช่สิ่งที่ คาร์ล มาร์กป์ ได้พูดถึงไว้แม้แต่น้อย เมื่อรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต คำถามที่ตามมาคือ ใครเป็น “เจ้าของ” รัฐ? แน่นอนว่าไม่ใช่ชนชั้นแรงงานผู้ถูกกดขี่ขูดรีด ปราศจากอิสระ และแปลกแยกจากการควบคุมทางการเมืองและสังคม แต่กลับเกิดชนชั้นใหม่ที่ขึ้นมาปกครอง ปึ่งก็คือ ชนชั้นข้าราชการที่ทำหน้าที่ปกครองเหนือระบบส่วนรวมทั้งหมด คือ ระบบร่วมกันของข้าราชการ หากรัฐประเภทนี้มิได้มีความหมายเท่ากับ “สังคมนิยม” ล่ะ อะไรคือความหมายของ “สังคมนิยม” ในสังคมเหล่านี้?

สองแนวคิดสังคมนิยมดังกล่าวนี้แตกต่างกันมากมาย แต่ก็มีสิ่งที่ร่วมกันมากกว่าที่คิด นั่นก็คือ แนวสังคมนิยมประชาธิปไตยเชื่อว่าเราสามารถทำให้ระบบทุนนิยม “กลายเป็นสังคมนิยม” ได้จากข้างบน หลักการก็คือ เมื่อรัฐเพิ่มการแทรกแปงในสังคมและเศรษฐกิจ สังคมนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นสังคมนิยมโดยอัตโนมัติ แนวคิดดังกล่าวนี้เป็นแนวคิดที่มีร่วมกันกับแนวสตาลินที่เชื่อว่า สังคมนิยมสร้างได้จากบนลงล่าง และก็สามารถเรียกสิ่งเหล่านี้ได้ว่าเท่ากับ สังคมนิยม ทั้งสองแนวคิดนี้เองมีรากฐานอยู่บนความสับสนทางประวัติศาสตร์ของความคิดสังคมนิยม

เมื่อย้อนกลับไปที่ต้นตอจะพบว่า เราสามารถนำเสนอความหมายของสังคมนิยมได้ในรูปแบบใหม่ เราอาจกล่าวได้ว่าสังคมนิยมมีความแตกต่างใน “ประเภทของสังคมนิยม” โดยที่เราสามารถแยกออกเป็นสองประเภทคือ แนวปฏิรูป และแนวปฏิวัติ, แนวสันติวิธี และแนวใช้ความรุนแรง, แนวประชาธิปไตย หรือแนวเผด็จการ ฯลฯ เราจะเห็นว่าการแบ่งประเภททำได้หลายวิธี แต่จากประวัติศาสตร์ของขบวนการและแนวคิดสังคมนิยมที่มีมาพบว่า เราสามารถแบ่งประเภทในเชิงพื้นฐานได้ระหว่าง สังคมนิยมจากบนลงล่าง และ สังคมนิยมจากล่างสู่บน

ลักษณะร่วมของแนวสังคมนิยมจากบนลงล่างที่เกิดขึ้นในหลายๆรูปแบบก็คือ การที่มัน แย่งเอา อำนาจของมวลชนที่ยิ่งใหญ่ไปไม่ว่าจะในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไปไว้ในมือของชนชั้นนำที่ปราศจากการควบคุมตรวจสอบจากมวลชน ส่วนหัวใจของสังคมนิยมจากล่างสู่บนก็คือ มันมองว่า เราสามารถบรรลุถึงสังคมนิยมได้ต้องทำผ่านการปลดแอกตนเองของมวลชนจากข้างล่างเท่านั้น และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือ เสรีภาพได้มาอยู่ในมือพวกเขานั้นต้องกระทำโดยการปลุกระดมและต่อสู้ “จากข้างล่าง” ของพวกเขาเอง โดยที่พวกเขาเป็นผู้กระทำ (ไม่ใช่แค่ผู้ถูกกระทำ) ของขั้นตอนทางประวัติศาสตร์อันนี้ “การปลดแอกของชนชั้นกรรมาชีพนั้นต้องกระทำโดยชนชั้นกรรมาชีพเอง” นี่คือประโยคแรกปึ่งถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นกฎสำหรับสากลที่หนึ่งโดย มาร์กป์ และนี่ก็ยังคงเป็นหลักการขั้นแรกสุดตลอดชีวิตของเขา

แนวคิดสังคมนิยมจากบนลงล่างนี่เองที่ยอมรับให้การใช้อำนาจแบบเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นในนามของ “สังคมนิยม” และแนวทางของสังคมนิยมจากบนลงล่างนี้เองที่เสนอว่า จะต้องมีแนวทางแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยในการควบคุมรัฐสภาในฐานะที่เป็นโครงสร้างส่วนบนของสังคม และในการ “ควบคุมจัดการ” กับเศรษฐกิจนั้นก็จะถูกทำให้กลายเป็นปฏิปักษ์และอยู่เหนือมวลชนจากข้างล่าง นี่คือธาตุแท้ของสังคมนิยมจากบนลงล่างที่เป็นกระแสหลักที่ครอบงำในการพัฒนาของสังคมนิยมในปัจจุบัน

แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดที่เกิดขึ้นกับแนวสังคมนิยม ในทางกลับกันแนวสังคมนิยมจากบนลงล่างนี้เองกลับขยับขยายไปทั่วในหลายศตวรรษของสังคมชนชั้นและการกดขี่ทางการเมือง นี่คือสัญญาตลอดกาลที่ผูกขึ้นมาโดยอำนาจของชนชั้นปกครองต่อมวลชนว่าจะปกป้องพวกเขา และจะนำปลดปล่อยมวลชนจากความจำเป็นใดๆที่พันธนาการให้พวกเขาต้องแสวงหาที่หลบภัยอยู่เสมอ ดังที่ประชาชนปรารถนาให้กษัตริย์ปกป้องพวกเขาจากการกระทำอันอยุติธรรมของเจ้าที่ดิน หรือดังที่การรอคอยพระเยปูคริสต์เพื่อปลดปล่อยพวกเขาจากทรราช การเปลี่ยนแปลงที่กล้าหาญอันเกิดจากมวลชนจากเบื้องล่างมิใช่หรือ คือ ทางที่ปลอดภัยกว่าและสุขุมรอบคอบมากกว่าการแสวงหาผู้นำ “ที่ดี” ที่จะมาช่วยทำให้ประชาชนอยู่ดีมีความสุข เราสามารถมองย้อนกลับไปสู่ประวัติศาสตร์ของอารยะธรรม หรือแม้แต่ในประวัติศาสตร์ของสังคมนิยมเองก็จะพบความเชื่อเรื่องการปลดแอกจากบนลงล่างเช่นนี้ แต่เฉพาะในกรอบของขบวนการสังคมนิยมสมัยใหม่เท่านั้นที่เราจะสามารถทำให้การปลดแอกจากข้างล่างเป็นจริงได้ กล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องของสังคมนิยมที่ผ่านมาก็มิได้หลุดพ้นออกจากกรอบวิธีคิดแบบดั้งเดิม คือ แนวทางแบบสังคมนิยมจากบนลงล่าง

เราสามารถเข้าใจวิกฤตในปัจจุบันของแนวทางสังคมนิยมได้อย่างดีจากการแบ่งแยกขั้วอันยิ่งใหญ่นี้ของสังคมนิยม โดยในช่วงต่อไปจะยกตัวอย่างเล็กน้อยเพื่อสะท้อนให้เห็นสองวิญญาณของสังคมนิยม

1.      บรรพบุรุษนักสังคมนิยม

คาร์ล เคาท์สกี้ นักทฤษฎีระดับแนวหน้าของสากลที่สองเริ่มต้นหนังสือของเขาด้วยการพูดถึง

โทมัส มอร์ โดยการสำรวจว่านักคิดคนสำคัญในประวัติศาสตร์สังคมนิยมนั้นมีอยู่ 2 ท่าน คือ มอร์ และมุนเปอร์ โดยที่ทั้งสองท่านนี้ “สืบทอดความคิดอย่างยาวนานจากนักคิดสังคมนิยมตั้งแต่ ไลเคอร์กัสและ ไพทากอรัส จนถึงเพลโต้, กราคี, คาทาไลน์, พระเยปูคริสต์…”

นี่เป็นนักสังคมนิยมยุคแรกเริ่ม และในสายตาของเคาท์สกี้มองว่าเราสามารถกล่าวได้ว่านักคิดเหล่านี้คือนักสังคมนิยม คำถามก็คือ อะไรคือสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับการเข้าใจว่านักคิดเหล่านี้อยู่ในแนวทางไหนของสังคมนิยมที่แตกต่างกันสองแนว

พลูทาร์คได้บันทึกเกี่ยวกับชีวิตของไลเคอร์คัสว่าเป็นผู้แผ้วทางและให้กำเนิดแนวคิด “คอมมิวนิสต์” ของนครรัฐสปาร์ตา นี่คือเหตุผลที่เคาท์สกี้กล่าวถึงท่านผู้นี้ แต่จากคำอธิบายของพลูทาร์คแล้วพบว่า การจัดระเบียบสังคมของสปาร์ตานั้นอยู่บนหลักการแบ่งสรรที่ดินที่เท่าเทียมกันภายใต้ระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ดังนั้นจึงเป็นที่แน่นอน(สำหรับเรา)ว่า สปาร์ตานั้นไม่มีทางที่จะถูกจัดว่าเป็นสังคมนิยมได้เลย ความรู้สึกร่วมที่ได้รับจากการพรรณนาถึงระบอบสังคมของสปาร์ตานั้นมาจากหลายมุมมองที่แตกต่างกัน ในที่นี้จะพบว่า วิถีชีวิตของชนชั้นปกครองของสปาร์ตานั้นเป็นวิถีชีวิตที่เน้นระเบียบวินัยเฉกเช่นเดียวกับกองทหารที่ออกรบยามศึกสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น และยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นระบอบที่มีลักษณะของการกดขี่ทารุณอย่างมากต่อทาสด้วย ข้าพเจ้าจึงไม่มีทางจะเข้าใจได้เลยว่า นักสังคมนิยมสมัยใหม่จะสามารถอ่านงานเกี่ยวกับระบอบการเมืองและสังคมของไลเคอร์คัสโดยปราศจากความรู้สึกว่าเขากำลังพบกับบรรพบุรุษของระบอบฟาสปิสต์ที่ไม่มีวันจะถูกเรียกว่าสังคมนิยมได้เลยได้อย่างไร นี่แหละคือความแตกต่าง! แต่มันยิ่งน่าแปลกใจมากขึ้นไปอีกเมื่อความเข้าใจเช่นนี้เกิดขึ้นกับนักทฤษฎีระดับพระกาฬของแนวสังคมนิยมประชาธิปไตย(เคาท์สกี้-ผู้แปล)?

ส่วนไพทากอรัสนั้นเป็นผู้ก่อตั้งระเบียบของชนชั้นนำที่มีกองกำลังทางทหารของเจ้าที่ดินเพื่อต่อสู้กับขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนธรรมดา และในเวลาต่อมาไพทากอรัสและพลพรรคของเขายังถูกล้มและขับไล่โดยการปฏิวัติของประชาชนด้วยในที่สุด นี่แหละคือความเข้าใจที่ผิดที่ผิดทางของเคาท์สกี! นอกจากนั้นภายในระบอบของไพทากอรัสเองก็ยังใช้ระบอบเผด็จการทหารอย่างเบ็ดเสร็จด้วย แต่การที่เคาท์สกีเลือกที่จะจัดให้ไพทากอรัสเป็นบรรพบุรุษสังคมนิยมนั้นก็เพราะด้วยความเชื่อว่า ระบอบการเมืองของไพทากอรัสนั้นจัดสรรการบริโภคร่วมกันในสังคมแบบคอมมูน ปึ่งหากแม้ว่าสิ่งที่เคาท์สกีกล่าวไว้ถูกต้อง (และหากเคาท์สกีมาพบในภายหลังว่ามันผิด) ก็หมายความว่าระบอบการเมืองของไพทากอรัสก็มีความเป็นคอมมิวนิสต์ไม่ต่างไปจากสำนักสงฆ์ที่แบ่งปันอาหารการกินร่วมกัน และนี่แหละคือบรรพบุรุษเผด็จการเบ็ดเสร็จคนที่สองในรายชื่อของเคาท์สกี

ในกรณีของเพลโตในหนังสือ รีพับลิค ที่เป็นที่รู้จักกันดีของเขานั้น องค์ประกอบสำคัญของ “คอมมิวนิสต์” ที่มีอยู่ในรัฐอุดมคติของเขาก็คือการที่ชนชั้นผู้ปกครองจำนวนน้อยที่สร้างระบบราชการและกองทัพได้แบ่งปันการบริโภคร่วมกัน แต่ในสังคมโดยรอบนั้นกลับใช้ระบบการถือครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ปึ่งไม่มีวันที่เราจะเรียกว่าเป็นสังคมนิยมได้เลย และยิ่งไปกว่านั้นรัฐในอุดมคติของเพลโตเป็นรัฐบาลที่ปกครองโดยขุนนางชนชั้นนำ โดยที่เขาเองก็กล่าวถึงประชาธิปไตยในฐานะที่ประชาธิปไตยเป็นเส้นทางแห่งความเสื่อมและผุพังของสังคมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป้าหมายทางการเมืองของเพลโตก็คือการกู้ฐานะ และการทำให้ระบอบขุนนางมีความบริสุทธิ์โดยการต่อสู้กับประชาธิปไตย หากจะเพลโตว่าเป็นบรรพบุรุษของสังคมนิยมแล้วก็หมายความว่าแนวคิดสังคมนิยมที่พูดถึงการควบคุมรัฐบาลโดยประชาชนเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง

ในอีกด้านหนึ่ง คาทีลีน และกรัคคีนั้นปราศจากด้านที่เป็นส่วนรวม ชื่อของพวกเขานั้นสัมพันธ์กับขบวนการมวลชนของการปฏิวัติมวลชนประชาธิปไตยเพื่อต่อต้าน the Establishment พวกเขาไม่ใช่สังคมนิยมอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยืนเคียงข้างการต่อสู้ของมวลชนจากล่างสู่บนในยุคโบราณก็ตาม ดังนั้นการจัดให้พวกเขาเป็นนักคิดในแนวสังคมนิยมประชาธิปไตยดูจะเหมาะสมกว่า

ในหัวข้อนักคิดก่อนประวัติศาสตร์นี้ เราสามารถแบ่งขบวนการสังคมนิยมออกได้เป็นสองแนวทาง แนวทางแรกที่เน้นรูปแบบส่วนรวม แต่มีลักษณะเป็นการปกครองของชนชั้นนำ เผด็จการอำนาจนิยม และต่อต้านประชาธิปไตย กับแนวทางที่สองปราศจากการเน้นรูปแบบส่วนรวมในสังคม แต่เป็นการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อประชาธิปไตย ดังนั้นเราจะพบว่าไม่มีแนวทางไหนที่รวมเอาลักษณะสำคัญของสังคมนิยมทั้งสองด้านเข้ามาด้วยกัน คือ เมื่อมีการเน้นรูปแบบส่วนรวมแต่ก็ปราศจากประชาธิปไตย และเมื่อเน้นประชาธิปไตยแต่ก็กลับไม่มีรูปแบบส่วนรวม

เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนกระทั่ง โทมัส มุนเปอร์ แกนนำของปีกป้ายปฏิวัติในการปฏิรูปเยอรมันได้แนะนำให้มีการสร้างคอมมิวนิสต์ (ในแนวของมุนเปอร์) ที่มีความหมายเท่ากับการฝังรากลึกของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของมวลชนจากล่างสู่บน ปึ่งข้อเสนอนี้ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงต่อข้อเสนอของ โทมัส มอร์ ปึ่งถือได้ว่างานของทั้งสองคนเป็นการให้กำเนิดแนวทางที่แตกขั้วอย่างชัดเจนอันเป็นหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ก็คือในหนังสือ ยูโทเปีย ของมอร์นั้นวาดภาพสังคมที่เป็นระเบียบยิ่งกว่าความทรงจำที่เรามีต่อปี 1984 ของแนวสังคมนิยมประชาธิปไตยเสียอีก แนวทางเช่นนี้มองว่าต้องปกครองโดยชนชั้นนำ และยังคงเป็นสังคมที่มีทาส ดังนั้นโดยรวมๆแล้วเราสามารถเรียกงานของมอร์ได้ว่าเป็น แนวสังคมนิยมจากบนลงล่าง นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรนักกับการที่บรรพบุรุษของสังคมนิยมทั้งสองคนปึ่งยืนอยู่ตรงจุดตั้งต้นของโลกสมัยใหม่ โดยที่คนหนึ่ง (มอร์) ได้โจมตีวิพากษ์อีกคน (มุนเปอร์) อย่างรุนแรงที่สุดปึ่งต่อมาได้นำไปสู่การทำลายล้างอีกคนนั้นรวมถึงขบวนการของเขาจนสิ้นปาก

การนิยามความหมายของลัทธิสังคมนิยมในครั้งแรกจะเป็นไปอย่างไร ? เมื่อจุดเริ่มต้นของมันเองยังแตกแยกขาดจากกันและป้ำไปกว่านั้นสิ่งที่คั่นกลางระหว่างวิญญาณทั้งสองก็คือ “สงคราม”

2.      นักสังคมนิยมสมัยใหม่พวกแรก

สังคมนิยมสมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในกลางศตวรรษระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส และการปฏิวัติใน

ปี 1848 เช่นเดียวกันกับกำเนิดของแนวคิดประชาธิปไตยสมัยใหม่ แต่กระนั้นทั้งสองแนวคิดก็ไม่ใช่แนวคิดที่เป็นฝาแฝดตัวติดกัน ทั้งสองแนวคิดมีเส้นทางโคจรของมันเองที่แยกขาดจากกัน แล้วเมื่อไรล่ะที่ทั้งสองแนวทางมาบรรจบกัน?

ความหดหู่พ่ายแพ้ที่ตามมาหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสนั้นได้นำไปสู่แนวทางสังคมนิยมหลายชนิดที่แตกต่างกันหลายแนวทาง ปึ่งเราจะมาพิจารณานักคิดที่มีความสำคัญที่สุดต่อการทำความเข้าใจเรื่องของเรา ดังนี้

1.      บาเบิฟ - บาเบิฟเป็นแกนนำของขบวนการสังคมนิยมสมัยใหม่พวกแรกที่เกิดขึ้นในช่วง

ท้ายของการปฏิวัติฝรั่งเศส(ที่เรียกว่า “ขบวนการร่วมต่อสู้ของคนที่เท่าเทียมกัน”) โดยแนวทางของบาเบิฟนั้นถือได้ว่าเป็นการสืบทอดลัทธิจาโคบินแนวปฏิวัติที่บวกพ่วงเอาเป้าหมายของสังคมนิยมเข้าไป นั่นก็คือ สังคมคอมมิวนิสต์ที่ทุกคนเท่าเทียมกัน นี่คือครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่แนวคิดสังคมนิยมได้กลายเป็นแนวทางของขบวนการต่อสู้ของมวลชน และถือได้ว่าเป็นจังหวะก้าวอันหนึ่งของแนวคิดสังคมนิยม[1]

จังหวะก้าวแห่งการผสมผสานนี้เองที่นำเรามาสู่คำถามที่สำคัญก็คือ มีอะไรที่แน่นอนในความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดสังคมนิยมกับขบวนการของมวลชนเหล่านั้น? นี่จะเป็นคำถามหลักสำหรับแนวคิดสังคมนิยมไปจนอีก 200 ปีข้างหน้าเลยทีเดียว

พวกนักคิดสายบาเบิฟนั้นมองว่า ขบวนการมวลชนของประชาชนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ทั้งๆที่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะกลับไปสู่แนวทางปฏิวัติอีกครั้ง แต่ เรา รู้ว่า มันจะไม่เป็นเช่นนั้นเพราะพวกเขารู้สึกหดหู่เกินไป จิตใจที่เชื่อมั่นในการปฏิวัติของมวลชนได้ถูกทำลายไปโดยพวกฝ่ายขวา และปัญหาก็คือเราจะทำอย่างไรให้ฝ่ายป้ายสามารถสร้างขบวนการมวลชนขึ้นมาใหม่ โดยที่ขบวนการนั้นต้องมีจิตใจที่จะปฏิวัติด้วยได้ เราจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องยึดอำนาจรัฐ แต่มวลชนกลับไม่พร้อมที่จะยึดอำนาจรัฐอีกต่อไป นี่แหละเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของเราที่จะยึดอำนาจในนามของมวลชนโดยพยายามระดมมวลชนให้ไปถึงจุดนั้นให้ได้ นี่ก็เท่ากับว่าเป็นการใช้อำนาจเผด็จการชั่วคราวโดยคนกลุ่มน้อย แต่มันจะหมายถึงเผด็จการของผู้มีการศึกษา โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างเงื่อนไขให้เกิดการสร้างระบบควบคุมที่เป็นประชาธิปไตยที่เป็นไปได้ในอนาคต (ในความหมายที่พวกเราทุกคนล้วนเป็นนักประชาธิปไตย) แต่ในที่สุดแนวทางนี้จะไม่ใช่เผด็จการของประชาชน เฉกเช่นสังคมคอมมิวนิสต์ที่เราใฝ่ฝัน พูดง่ายๆเลยในที่สุดมันจะกลายเป็นระบอบเผด็จการที่ อยู่เหนือ ประชาชนทั้งมวล -- แม้จะมีเจตนาที่ดีก็ตามที

สำหรับในอีกเกือบ 50 ปีจากนั้น แนวคิดเผด็จการของผู้มีการศึกษาที่อยู่เหนือมวลชนก็ยังคงลอยวนเวียนอยู่ในโครงการของพวกฝ่ายป้ายปฏิวัติผ่านแนวคิดของ 3 บ. (บาเบิฟ สู่ บูนารอตตี จนถึง บลังคี) และแนวทางแบบอนาธิปัตย์ เช่น บาคูนิน นี่เป็นแนวทางใหม่ของแนวปฏิวัติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นเพื่อปลอบประโลมความหดหู่สิ้นหวังของมวลชน และนี่เองคือแนวทางของสังคมนิยมจากบนลงล่างพวกแรกๆของแนวทางสังคมนิยมปฏิวัติ และแนวคิดเช่นนี้ก็ยังคงออกลูกหลานจนถึงปัจจุบันดังที่เราจะเห็นได้ คือ คาสโตร และ เหมา ที่คิดว่า นี่(สังคมนิยมที่สร้างจากคนกลุ่มน้อยในสังคม-ผู้แปล)คือคำตอบสุดท้ายของแนวปฏิวัติ

2.      แปงต์-ปิมอง - เป็นแนวทางที่เกิดขึ้นในยุคแห่งการปฏิวัติ โดยที่แปงต์-ปิมองรู้สึกขยะแขยง

อย่างมากต่อการปฏิวัติ, ความไร้ระเบียบ และความวุ่นวายไม่สงบที่เกิดขึ้น สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เขาก็คือ ศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

เขามองว่า ไม่มีสิ่งไหนที่จะก่อให้เกิดความเท่าเทียม ความยุติธรรม เสรีภาพ และสิทธิของมนุษยชาติได้มากมายเท่ากับการพุ่งเป้าไปที่ความทันสมัย การพัฒนาอุตสาหกรรม การวางแผน อุตสาหกรรมที่เน้นการวางแผนได้กลายมาเป็นหัวใจสำคัญของโลกใหม่ โดยเฉพาะมันเป็นสิ่งที่ชัดเจนมากต่อคนธรรมดาๆที่จะเชื่อว่าเขาจะเข้าถึงความเป็นอภิสิทธิ์ชนได้ถ้าพวกเขากลายมาเป็น นักการเงิน นักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ นักเทคนิคเฉพาะด้าน และผู้จัดการ แต่เมื่อโครงการเหล่านี้ไม่ปรากฏเป็นจริง แปงต์-ปิมองกลับเรียกร้องให้กษัตริย์นโปเลียนที่ 18 เข้ามาทำโครงการนี้โดยเผด็จการของกษัตริย์ ปึ่งโครงการเหล่านี้ก็ถูกนำไปปฏิบัติจริง แต่มันก็เป็นเผด็จการอย่างถึงที่สุดจนโครงการสุดท้ายเลยทีเดียว โดยลักษณะของนโปเลียนที่เหยียดเชื้อชาติและเป็นจักรวรรดินิยมทางทหาร เขาจึงกลายเป็นศัตรูอย่างถึงที่สุดต่อหลักการของความเท่าเทียมและเสรีภาพที่ล้วนเกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสายจากการปฏิวัติฝรั่งเศส

จะมีก็แต่เฉพาะในช่วงสุดท้ายในชีวิตของเขา (ปี 1825) ที่เขาผิดหวังต่อชนชั้นปกครองที่เขาเคยเชื่อว่าคนเหล่านี้จะทำตามหน้าที่และหลักการของการสร้างอุตสาหกรรม โดยแปงต์-ปิมองเองได้ผันตัวเองไปสู่แนวทางที่ทำเพื่อชนชั้นแรงงานจากเบื้องล่าง โดยเขาได้ก่อตั้งลัทธิ “คริสเตียนใหม่” เพื่อชี้นำขบวนการมวลชน แต่บทบาทของมันกลับเป็นการเอาทรัพยากรที่มีทั้งหมดไปทุ่มให้แก่การให้คำปรึกษากับนักวางแผนของเขามากกว่า (ที่จะสร้างขบวนการมวลชนจริง-ผู้แปล) บทบาทของชนชั้นแรงงานก็ควรจะรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องอ้อนวอนให้ชนชั้นนายทุนและชนชั้นผู้จัดการที่เป็นลูกน้องนายทุนทำการยึดอำนาจรัฐจาก “ชนชั้นอุดมคติเหล่านั้น” (หมายความถึงกษัตริย์และเจ้าที่ดิน-ผู้แปล)

ต่อคำถามที่ว่า อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างความคิดว่าด้วย สังคมที่มีการวางแผน กับ ขบวนการของมวลชน? ประชาชน และขบวนการสามารถเป็นเกราะป้องกันที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการที่อำนาจะถูกรวมศูนย์ไปอยู่ที่มือของคนเพียงบางคน แปงต์-ปิมองชี้ให้เห็นในตอนสุดท้ายว่า ขบวนการจากเบื้องล่างนั้นจะสามารถส่งผลอันสั่นสะเทือนต่อ แนวคิดสังคมนิยมจากบนลงล่าง ได้ แต่ในท้ายที่สุด(แปงต์-ปิมองกลับเชื่อว่า)อำนาจและการควบคุมทั้งหมดก็ยังควรที่จะเป็นของคนส่วนน้อยจากข้างบนอยู่ดี

3.       แนวเพ้อฝัน - แนวคิดสังคมนิยมประเภทนี้เกิดขึ้นโดยคนยุคหลังจากการปฏิวัติอย่าง โร

เบิร์ต โอเวน, ชาร์ลส์ ฟูริเย, เอเตียน คาเบต ฯลฯ นักคิดเหล่านี้เสนอโครงการทางสังคมในรูปแบบชุมชนที่ควรถูกทำให้เกิดขึ้นโดยเหล่าชนชั้นนำที่ร่ำรวย ปึ่งให้เงินสนับสนุนอย่างมากในนามของผู้ใจบุญ

โอเวน (ปึ่งเป็นผู้ที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างมหาศาล) นั้นเป็นคนสำคัญคนหนึ่งของแนวคิดประเภทนี้เสนอว่า “การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้...ต้องและจะเกิดขึ้นโดยผู้ที่ร่ำรวยและผู้มีอำนาจในสังคม มันไม่มีพรรคการเมืองหรือคนกลุ่มใดที่จะทำเช่นนี้ได้ มันเสียทั้งเวลา และสติปัญญามากมายต่อการที่ชนชั้นผู้ยากจนจะต่อต้านชนชั้นผู้ร่ำรวยและผู้มีอำนาจ...” โดยธรรมชาติแล้วโอเวน “เกลียดสิ่งที่เรียกว่าชนชั้น” หรือพูดให้ง่ายที่สุดคือเขาเกลียดการต่อสู้ทางชนชั้น เขาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่เชื่อเช่นนี้ แม้จะเป็นคนส่วนน้อยในสังคมสมัยนั้นแต่เขาก็เชื่อว่า เป้าหมายของสังคมนิยมก็คือ “การปกครองและเยียวยารักษาสังคมทั้งหมดในฐานะที่พวกเรานักสังคมนิยมเป็นหมอที่จะปกป้องคุ้มครองและรักษาโรคให้แก่คนป่วยทั้งหลายดังที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลรักษาคนบ้า” ปึ่ง “ความอดทนอดกลั้น และความใจดี” ที่มีต่อคนป่วยที่โชคร้ายทั้งหลาย “ที่มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปราศจากความมีเหตุมีผลและความยุติธรรมดังที่เกิดขึ้นในสังคมที่ปราศจากระบบที่มีเหตุมีผลที่สุดเช่นในปัจจุบัน”

สำหรับสังคมนิยมของ คาเบต นั้นจำเป็นต้องมีการเลือกตั้ง แต่ห้ามมีการถกเถียงอย่างเสรี และต้องมีการควบคุมสื่ออย่างเป็นระบบ รวมไปถึงต้องมีการจัดการสังคมให้มีระเบียบวินัยดังที่เกิดในกรมทหาร

สำหรับนักคิดสังคมนิยมเพ้อฝันเหล่านี้ อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดสังคมนิยม กับ ขบวนการของมวลชน ? คำตอบก็คือขบวนการมวลชนควรจะถูกจัดฝูงโดยเหล่าคนเลี้ยงแกะที่ควบคุมแกะอย่างดี ปึ่งเราจะเห็นได้ว่า แนวคิดสังคมนิยมจากบนลงล่างมิจำเป็นต้องเกิดขึ้นจากเจตนาที่ต้องการสร้างระบอบเผด็จการเสมอไป

นี่คือด้านหนึ่งของแนวคิดสังคมนิยมจากบนลงล่างนี่อยู่ไกลแสนไกลจากความเป็นจริง ในอีกด้านหนึ่งสำหรับนักคิดสมัยใหม่เช่น มาร์ติน บูเบอร์ ผู้ประพันธ์หนังสือ หลายเส้นทางสู่สังคมในฝัน แนวคิดสังคมนิยมเพ้อฝันควรจะถูกมองว่าเป็นนักประชาธิปไตย และ “ผู้ปลดปล่อย” ที่ยิ่งใหญ่! ความเชื่อเช่นนี้เองของบูเบอร์ที่ทำให้มายาคติแบบเพ้อฝันแพร่สะพัดไปทั่วสังคม และนี่ทำให้เราสามารถชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนอีกครั้งว่า นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ผู้สนใจศึกษาแนวคิดสังคมนิยมนั้นสามารถลงลึกไปสู่การค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยมจากบนลงล่างในฐานะที่เป็นแนวคิดหลักที่ครอบงำนักสังคมนิยมทั่วไปท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างสองวิญญาณแห่งสังคมนิยม

3.       มาร์กป์คิดอย่างไร?

แนวคิดสังคมนิยมเพ้อฝันก็คือ แนวคิดของพวกชนชั้นนำผู้ต่อต้านประชาธิปไตย นี่คือเหตุผล

หลักที่เราเรียกมันว่า เพ้อฝัน ปึ่งกลายเป็นแบบจำลองแห่งความใฝ่ฝันของคนจำนวนหนึ่งที่อยากให้มันกลายเป็นจริงขึ้นมา เหนืออื่นใดทั้งหมด มันก็ได้ช่วยสร้างรากฐานให้แก่ความคิดว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยมที่เกิดจากข้างล่างผ่านการกระทำของมวลชนผู้แสวงหาเสรีภาพอย่างถึงที่สุด แม้ว่าสุดท้ายแล้วมันจะกลายเป็นการขอความช่วยเหลือและความเห็นใจของขบวนการมวลชนที่อาจส่งผลกดดันต่อชนชั้นนำในสังคมก็ตาม ในขบวนการสังคมนิยมปึ่งเกิดขึ้นก่อนสมัยมาร์กป์นั้น กล่าวได้ว่าไม่ที่ใดที่จะผสานแนวคิดสังคมนิยมกับการสร้างประชาธิปไตยจากเบื้องล่างอย่างแท้จริง

การผนึกผสานระหว่างแนวคิดสังคมนิยมกับการสร้างประชาธิปไตยจากเบื้องล่างนั้นเป็นผลผลิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมาร์กป์ ปึ่งโดยเปรียบเทียบแล้วนี่ก็เป็นเนื้อหาหลักหรือหัวใจของแนวคิดมาร์กปิสต์ดังที่ปรากฎในหนังสือ ว่าด้วยทุน ของเขาโดยกล่าวว่า “นี่คือกฎ(ที่อยู่เหนือกฎอื่นๆ-ผู้แปล) สิ่งที่นอกเหนือจากนี้เป็นเพียงข้อวิพากษ์เท่านั้น” ใน แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ที่เขียนขึ้นในปี 1848 ถือได้ว่าเป็นการก่อร่างของความคิดมาร์กปิสต์ในช่วงแรกๆนั้น (ในคำของเองเกลส์) กล่าวว่า “การปลดปล่อยชนชั้นกรรมกรจะต้องกระทำโดยชนชั้นกรรมกรเอง”

ในช่วงที่มาร์กป์ยังเป็นหนุ่มนั้นความคิดของเขาเปรียบได้กับขั้นเริ่มต้นที่สุดของกำเนิดมนุษย์ที่เริ่มจากของเหลวในครรภ์ของมารดา และพัฒนาเป็นตัวอ่อนในที่สุด หรือเราอาจกล่าวได้ว่า สภาพภูมิคุ้มกันโรคที่มีเพิ่มขึ้นของมาร์กป์นั้นเกิดจากการที่เขาต้องเผชิญกับโรคร้ายแรงที่สุด ปึ่งในขณะนั้นก็คือ เผด็จการที่อ้างว่าปกป้องประชาชน ขณะที่เขาอายุ 22 ปีผู้ปกครองคนเก่าได้เสียชีวิตลง และเฟรเดริค วิลเฮล์ม ที่ 5 ปึ่งเป็นนักเสรีนิยมได้สืบทอดอำนาจต่อ โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิรูประบอบประชาธิปไตยจากที่มาจากข้างบน แต่ในท้ายที่สุดไม่มีอะไรเกิดขึ้นจากคำมั่นสัญญานี้ เหตุการณ์นี้ทำให้มาร์กป์ละทิ้งความเชื่อดังกล่าวที่เอาอนาคตของสังคมนิยมไปผูกไว้กับความหวังในตัวระบอบเผด็จการที่กล่าวอ้างว่าปกป้องประชาชนในที่สุด

มาร์กป์ก้าวเข้าสู่การเมืองในฐานะบรรณาธิการที่ปลุกระดมของหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งปึ่งเป็นตัวจักรสำคัญของปีกป้ายสุดของแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยของเมืองอุตสาหกรรมไรน์แลนด์ และในไม่ช้าเขาก็กลายเป็นบรรณาธิการแนวหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงให้แก่การสร้างประชาธิปไตยการเมืองของเยอรมัน บทความแรกของเขาตีพิมพ์เพื่อตอบโต้กับการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อโดยรัฐในขณะนั้น ในเวลาต่อมา รัฐบาลได้กดดันให้เขาออกจากตำแหน่งบรรณาธิการ ส่งผลให้มาร์กป์หันกลับไปแสวงหาแนวทางการต่อสู้ใหม่โดยเฉพาะจากแนวสังคมนิยมที่มาจากฝรั่งเศส ปึ่งเมื่อผู้นำของแนวเสรีนิยมประชาธิปไตยเช่นมาร์กป์กลายเป็นนักสังคมนิยม ภารกิจหลักของเขาก็ยังคงเป็นเรื่องของการเรียกร้องประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยที่มีความหมายลึกปึ้งกว่าเดิม มาร์กป์ได้กลายเป็นนักคิด และผู้นำแนวสังคมนิยมคนแรกที่กลายมาเป็นสังคมนิยมผ่านการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม

{ในบันทึกของมาร์กป์ในปี 1844 เขาปฏิเสธแนวคิด “คอมมิวนิสต์ที่ผิวเผิน” โดยการปฏิเสธการเชิดชูลักษณะเฉพาะของมนุษย์ และมองหาแนวทางคอมมิวนิสต์ที่พูดถึงการพัฒนาไปสู่ “ความเป็นมนุ

ษย์ที่สมบูรณ์” ในปี 1845 มาร์กป์และเพื่อนของเขา คือ เองเกลส์ ได้ร่วมกันเขียนงานเพื่อโต้แย้งแนวคิดสังคมนิยมแบบชนชั้นนำของ บรูโน บัวเออร์ ในปี 1846 เขาทั้งสองได้จัดตั้ง “กลุ่มผู้นิยมคอมมิวนิสต์เพื่อประชาธิปไตยแห่งเยอรมัน” ขึ้นในกรุงบรัสเปลที่เขาลี้ภัยในขณะนั้น และเองเกลส์ได้บันทึกเอาไว้ว่า “ในช่วงเวลานั้น ประชาธิปไตย และคอมมิวนิสต์ได้กลายเรื่องเดียวกัน” “เฉพาะชนชั้นกรรมกรเท่านั้นที่จะทำให้มันเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ภายใต้สัญลักษณ์ของประชาธิปไตยคอมมิวนิสต์”}

ในการทำงานทางความคิดภายใต้การเชื่อมโยงแนวคิดคอมมิวนิสต์แบบใหม่ให้เป็นเรื่องเดียวกับแรงบันดาลใจที่จะสร้างประชาธิปไตยแบบใหม่นั้น ทำให้เขาทั้งสองคนขัดแย้งอย่างรุนแรงกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่มีอยู่แล้ว เช่น กลุ่มของ วิทลิง ปึ่งใฝ่ฝันถึงสังคมคอมมิวนิสต์ในฐานะที่เป็นเผด็จการของนักบุญ โดยก่อนหน้าที่มาร์กป์และเองเกลส์จะเข้าร่วมกับกลุ่มปึ่งกลายมาเป็นสากลคอมมิวนิสต์ (ที่ปึ่งเขาทั้งสองคนเขียน แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์) พวกเขาได้วางเงื่อนไขไว้ว่า การจัดองค์กรแบบเดิมที่นำโดยผู้นำที่ร่วมคิดไม่กี่คนต้องผันตัวไปสู่องค์กรปลุกระดมแบบเปิดกว้างที่ “ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกำหนดโดยเผด็จการเหนือคนธรรมดาจะต้องถูกทำลายลงเสียก่อน” โดยจะต้องมีคณะกรรมการที่ถูกเลือกตั้งจากสมาชิกทั้งหมดเพื่อต่อต้าน “การตัดสินใจจากบนลงล่าง” แนวคิดของเขาทั้งสองนั้นได้ชนะใจขององค์กรสากลคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น และในเอกสารที่ปรากฏในปี 1847 ปึ่งเป็นเวลาเพียงสองถึงสามเดือนก่อนที่จะมีการเขียน แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ได้ประกาศว่า

“เราไม่ใช่ผู้ที่อยู่ท่ามกลางผู้นิยมแนวคิดคอมมิวนิสต์ปึ่งต้องการทำลายเสรีภาพส่วนบุคคล หรือผู้ที่ปรารถนาย้อนกลับให้กลับไปสู่โรงฝึกทหารขนาดใหญ่ หรือ โรงงานขนาดมหึมา แน่นอนล่ะมันมีผู้นิยมแนวคิดคอมมิวนิสต์มักง่ายบางคนที่ปฏิเสธเสรีภาพส่วนบุคคล โดยมองอย่างคับแคบว่าเสรีภาพส่วนบุคคลจะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุถึงสังคมที่ปราศจากความขัดแย้ง แต่พวกเรามิได้มีความปรารถนาที่จะยอมแลกเสรีภาพเพื่อให้ได้มาปึ่งความเท่าเทียม เรากำลังชี้ชวนให้เชื่อ...ว่าหากปราศจากระเบียบสังคม เสรีภาพส่วนบุคคลจะได้รับการปกป้องอย่างดีในสังคมการถือครองกรรมสิทธิ์เป็นของสังคมโดยรวม... [หน้าที่ของเรา] คือ การสร้างรัฐประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคสามารถเข้ามาแข่งขันทั้งโดยคำพูดหรือโดยข้อเขียนเพื่อเอาชนะใจและความคิดของคนส่วนใหญ่ในสังคม”

ใน แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ปึ่งนำเสนอข้อถกเถียงที่สำคัญที่สุดที่ว่าเป้าหมายแรกของการปฏิวัติก็คือ “การต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตย” สองปีต่อมาเมื่อการปฏิวัติ 1848 ได้เสื่อมคลายลงไป ภายในสากลคอมมิวนิสต์ได้เกิดความแตกแยกขึ้น ปึ่งเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอีกครั้งระหว่างแนวคิด “คอมมิวนิสต์ที่ผิวเผิน” ที่ใช้วิธีก่อจลาจลเล็กๆน้อยๆพยายามจะทดแทนแนวคิดที่ต้องการให้มีการปฏิวัติโดยมวลชนกรรมกรที่มีจิตสำนึกเอง และมาร์กป์กล่าวกับนักคิดเหล่านี้ว่า

“นี่คือคนส่วนน้อย... ที่ต้องการสร้างพลังขับเคลื่อนให้กับการปฏิวัติ และเพื่อทำให้การปฏิวัติมันบังเกิดขึ้นจริง ในขณะที่เรากล่าวกับหมู่มวลกรรมกรว่า 'พวกท่านทั้งหลายจะต้องทำสงครามกลางเมืองและสงครามทั่วโลกปึ่งอาจใช้เวลาสิบสี่ ยี่สิบปี หรือห้าสิบปี ทั้งหมดไม่ใช่เพียงเพื่อจะขยายเงื่อนไขให้กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ในด้านหนึ่งเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพทางการเมือง' ส่วนในอีกด้านหนึ่งพวกท่านทั้งหลายกล่าวกับเหล่าพี่น้องกรรมกรว่า 'เราต้องยึดอำนาจมาเป็นของเรา หรือไม่ก็กลับบ้านนอนปะ'”

“เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพทางการเมือง” นี่คือแนวทางของมาร์กป์ที่วางไว้สำหรับขบวนการของชนชั้นกรรมกรเพื่อที่จะต่อต้านชนชั้นที่บอกว่า ชนชั้นกรรมกรสามารถมีอำนาจได้แค่ทุกๆวันอาทิตย์ และชนชั้นที่บอกเราว่า ไม่มีวันนั้นสำหรับชนชั้นกรรมกร นี่คือสิ่งที่ทำให้มาร์กปิสต์กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ผ่านจิตสำนึกที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ของพวกเขาเองไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้เพื่อต่อต้านกับ เผด็จการของผู้มีการศึกษาที่ลอยตัวเหนือมวลชน, เผด็จการที่อ้างว่าทำเพื่อปกป้องประชาชน, ลัทธิชนชั้นนำปฏิวัติ, เผด็จการอำนาจนิยมในนามของคอมมิวนิสต์ หรือแม้แต่พวกเสรีนิยมนายทุน นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า มาร์กปิสต์ของมาร์กป์ มิใช่ระบอบทารุณโหดร้ายที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้หน้ากากของการเรียกว่า ขบวนการกรรมกรผู้มีความรู้ ปึ่งพยายามโยกคลอนจิตวิญญาณแห่งการไม่ยอมประนีประนอมระหว่างแนวปฏิวัติต่อแนวที่ต้องการรักษาสถานะพิเศษของชนชั้นนายทุน แนวสตาลิน และแนวสตาลินใหม่ ที่พยายามปิดป่อนความจริงที่มาร์กป์ต่อสู้โดยประกาศสงครามกับแนวสังคมนิยมเหล่านี้ตลอดมา

“นี่คือมาร์กป์ผู้ที่ผูกโยงสองแนวคิดคือ สังคมนิยม และประชาธิปไตย ไว้ด้วยกัน”[2] เพราะมาร์กป์ได้พัฒนาทฤษฎีปึ่งทำให้แนวคิดทั้งสองสามารถผนึกผสานกันได้เป็นครั้งแรก หัวใจของทฤษฎีมาร์กปิสต์ก็คือ มันมีคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ผลประโยชน์ของพวกเขาและพลังที่ขับดันที่มีต่อพวกเขาจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ และเป้าหมายของสังคมนิยมก็คือ การให้การศึกษาและปลุกระดมมวลชนส่วนใหญ่เหล่านี้นั่นเอง นี่คือชนชั้นผู้ถูกขูดรีด ชนชั้นกรรมาชีพ ปึ่งเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ แนวคิดสังคมนิยมจากล่างสู่บนจึงเป็นไปได้ด้วยรากฐานของทฤษฎีที่มองว่าศักยภาพที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัตินั้นแท้จริงแล้วอยู่ภายในมวลชนขนาดกว้างเอง แม้ว่ามันจะดูถอยหลังในบางครั้งบางเวลาก็ตาม หนังสือ ว่าด้วยทุน จึงมิใช่สิ่งใดอื่น นอกจากการประกาศถึงรากฐานของข้อเสนอทางเศรษฐกิจนี้นั่นเอง

นี่เป็นเพียงทฤษฎีสังคมนิยมชนชั้นกรรมกรเพียงอันเดียวที่ทำให้การผนึกประสานระหว่างแนวสังคมนิยมปฏิวัติ กับ การปฏิวัติประชาธิปไตย เป็นไปได้ ในประเด็นนี้เราไม่ได้กำลังโต้เถียงว่า ความเชื่อเช่นนี้มันจะเป็นจริงได้อย่างไร แต่เรากำลังบอกว่ามันมีทางเลือกเช่นนี้อยู่ นักสังคมนิยมทั้งหลาย หรือนักสังคมนิยมที่กำลังจะกลายเป็นนักปฏิรูปที่ปฏิเสธ(ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมนิยมและประชาธิปไตย-ผู้แปล)ก็ไม่พ้นจะต้องกลายเป็นแนวสังคมนิยมจากล่างสู่บนในที่สุดอย่างที่พวกเขาคือ นักสังคมนิยมปฏิรูป, แนวเพ้อฝัน, แนวราชการ, แนวสตาลิน, เหมาอิสต์ หรือสังคมนิยมของคาสโตร ได้ทำมาแล้ว

ห้าปีก่อนกำเนิด แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ นักสังคมนิยมรุ่นใหม่วัย 23 ปีคนหนึ่งก็ยังคงยึดถือและเขียนในแนวทางที่นิยมชนชั้นนำแบบเก่า “เราสามารถสร้างส่วนร่วมในวงกว้างเข้ามาร่วมกับเราได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาจะมีการศึกษาสักนิด นั่นก็คือ พวกเขามาจากชนชั้นที่ได้เรียนมหาวิทยาลัย หรือชนชั้นพ่อค้า...” นี่คือสิ่งที่เองเกลส์ในวัยหนุ่มได้เรียนรู้มากขึ้นในวันนั้น แต่ความคิดที่ล้าสมัยเช่นนี้มันกลับยังคงอยู่ในยุคสมัยของเราตราบจนทุกวันนี้

4.      มายาคติของ “การปลดปล่อย” แบบอนาธิปัตย์

เมื่อพูดถึงแนวคิดที่มีลักษณะเป็นเผด็จการโดยสิ้นเชิงในประวัติศาสตร์ของพวกก้าวหน้า

ทั้งหลายคงหลีกไม่พ้น ปรูดอง หรือที่ถูกขนานนามว่า “บิดาของสำนักอนาธิปัตย์” เขาเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการพูดถึงในฐานะที่เป็นตัวแบบอันยิ่งใหญ่ของ “การปลดปล่อย” เนื่องมาจากการพูดป้ำๆอย่างต่อเนื่องหนักแน่นของเขาเกี่ยวกับคำว่า เสรีภาพ และ “การปฏิวัติจากล่างสู่บน”

บางคนอาจตั้งใจที่จะหลงลืมเกี่ยวกับลักษณะแบบฮิตเลอร์ที่รังเกียจชาวยิวที่มีอยู่ในตัวของปรูดอง (ดังคำกล่าวของเขาที่ว่า “พวกยิวคือศัตรูของมนุษยชาติ มันจำเป็นที่จะต้องส่งคนพวกนี้กลับไปที่ของมันคือเอเปีย หรือกำจัดมันปะ...”) นี่คือหลักการเหยียดเชื้อชาติโดยทั่วไป (เขาคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับดินแดนตอนใต้ที่จะยังคงใช้ทาสผิวดำในอเมริกา เพราะคนเหล่านี้มีสถานะทางเชื้อชาติที่ต่ำที่สุด) และนี่คือการเอาชนะสงครามที่เป็นไปเพื่อตัวของสงครามเองทั้งสิ้น (เฉกเช่นที่มุสโสลินีนิยมมาตลอด) หรือที่เขากล่าวว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิใดๆ (ดังที่เขากล่าวย้ำว่า “ฉันปฏิเสธสิทธิทางการเมืองและการริเริ่มความคิดทุกประการของพวกเธอ เสรีภาพและความอยู่ดีมีสุขของพวกเธอมีได้ก็ต่อเมื่อพวกเธอแต่งงาน, เป็นแม่ และทำหน้าที่ภายในบ้านเท่านั้น...”)-นี่คือสิ่งที่พวกนาปีเรียกว่า เลี้ยงเด็ก-ทำครัว-เป็นเมียที่ดี

มันเป็นไปไม่ได้ที่จะปกปิดความรุนแรงที่กระทำต่อฝ่ายตรงข้าม ที่ไม่เพียงแต่ฝ่ายตรงข้ามนั้นจะเป็นสหภาพแรงงาน และสิทธิที่จะนัดหยุดงาน (หรือแม้แต่ที่เขาสนับสนุนการที่ตำรวจสลายการนัดหยุดงาน) แต่เขายังต่อต้านและกระทำการที่รุนแรงต่อทุกๆความคิดของแนวทางที่สนับสนุนสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง, สิทธิเลือกตั้งที่เท่าเทียมระหว่างชายหญิง, อำนาจสูงสุดอยู่ที่ปวงชน และหลักการที่ว่าด้วยรัฐธรรมนูญ (ดังที่เขากล่าวว่า ”หลักการประชาธิปไตยพวกนั้นทำให้ฉันเกิดความรังเกียจ... มันเป็นสิ่งที่แม้แต่ฉันก็จะไม่ยอมให้กำปั้นของฉันไปแตะต้องความโสกโครกของมัน”) หลักการที่ปรูดองเขียนถึงสังคมในอุดมคตินั้นเต็มไปด้วยการรังเกียจและจ้องทำลายคนกลุ่มอื่นๆในสังคม, การห้ามไม่ให้มีการชุมนุมกันเกิน 20 คน และทำลายสิทธิที่จะเสนอข่าวอย่างเสรี รวมไปถึงสิทธิที่จะมีการเลือกตั้งลง ในข้อเสนออันเดียวกันนี้ เขาได้เสนอให้มีการ “ไต่สวนทั่วไป” และการประณาม “คนหลายล้านคน” ไปจนกระทั่งแรงงานที่ถูกบังคับมา - “เมื่อปฏิวัติสำเร็จ”

เบื้องหลังทั้งหมดนี้ก็คือรั้วที่ต้องการกักกั้นคนจำนวนมากออก -- นี่คือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งกับการสถาปนาสังคมนิยมจากบนลงล่าง และนี่คือสิ่งที่ขัดแย้งและตรงกันข้ามกับหลักการขั้นพื้นฐานที่สุดของมาร์กปิสต์ มวลชนจำนวนมากที่ถูกกีดกันออกจะถูกเอารัดเอาเปรียบและหมดหวังในที่สุด (“ฉันทำสงครามเพื่อมนุษยชาติ แต่ก็ถ่มน้ำลายโสโครกใส่พวกเขา!” ปรูดองกล่าว) พวกเขาเป็นเพียง “ข้าทาส ... ที่พวกเราจะต้องไปปลดปล่อย โดยไม่ทำให้พวกเขากลับมาเป็นนายของเรา” และในจดหมายที่เขาเขียนถึงเพื่อนโดยท่วงทำนองที่ตำหนิและเหยียดหยามประณามก็กล่าวย้ำว่า “คุณยังเชื่อในในมวลชนเหล่านั้น” ความก้าวหน้าใดๆของสังคมสามารถเกิดขึ้นเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อมันมาจากชนชั้นนำหรือนายทาสที่ปรารถนาจะปกป้องดูแลคนของพวกเขาโดยไม่ให้คนเหล่านี้กลายมาเป็นนายของเขาในทีหลัง

ครั้งหนึ่งและหลายๆครั้งที่ปรูดองมองเห็นการปฏิวัติที่เกิดจากผู้นำคนเดียวที่เป็นเผด็จการ เช่น หลุยส์ โบนาปาร์ต (ปรูดองเขียนหนังสือทั้งเล่มในปี 1852 เพื่อจะตอกย้ำว่า จักรพรรดิคือผู้แบกรับหน้าที่ของการปฏิวัติ) หรือ เจ้าชายเจอร์โรม โบนาปาร์ต และ กษัตริย์ปาร์อเล็กปานเดอร์ที่สอง (ที่ปรูดองกล่าวว่า “เราไม่มีวันลืมว่า เผด็จการของพวกปาร์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติแค่ไหน”)

นี่คือตัวอย่างใกล้ตัวเราของเผด็จการที่รอคิวจะขึ้นมาปกครองพวกเรา นั่นก็คือ ปรูดอง เอง เขาได้สร้างโครงการสำหรับการพัฒนาของธุรกิจ, การร่วมมือกัน ปึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเรายึดเอาธุรกิจและรัฐไว้ในมือเราได้แล้ว ในบันทึกของเขากล่าวว่า ตัวเขาเองจะเป็นหัวหน้าใหญ่ของหัวหน้าทั้งมวล ปึ่งแน่นอนล่ะที่มันจะไม่มีวันใช้ระบบการควบคุมที่เป็นประชาธิปไตย เขาสนใจต่อรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริง “วาดภาพโครงการลับ สำหรับหัวหน้าทั้งหลาย ที่ทำลายล้างพวกนิยมกษัตริย์ นักประชาธิปไตย ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ทั้งหลาย ศาสนา และอื่นๆ” - “หัวหน้าทั้งหลายนั้นเป็นตัวแทนโดยธรรมชาติของสังคม โดยมีรัฐมนตรีเป็นผู้ควบคุมสูงสุดเหนือหัวหน้าและผู้คุมทั้งมวล ปึ่งฉันจะเป็นในอนาคต... เมื่อเรากลายเป็นหัวหน้า ศาสนาและความเชื่อต่างๆก็จะกลายมาเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา, ปรัชญา, ความยุติธรรม, การบริหารและการปกครอง ล้วนเป็นสิ่งที่เราเป็นผู้กำหนดทั้งสิ้น”

ผู้อ่านคงกำลังรู้สึกสับสนเกี่ยวกับ “การปลดปล่อย” ของแนวอนาธิปัตย์ และอาจถามว่า มีความจริงใจแค่ไหนสำหรับคำกล่าวที่ปรูดองได้พร่ำพรรณนาถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่เขามีต่อเสรีภาพ?

ไม่ใช่ทั้งหมด แต่นี่เป็นเพียงก้าวหนึ่งที่จำเป็นในการทำความเข้าใจว่าพวกอนาธิปัตย์ให้ความหมาย “เสรีภาพ” ว่าอย่างไรกันแน่ ปรูดองเขียนว่า “หลักการของเสรีภาพก็คือหลักที่ว่า ทำอย่างที่คุณต้องการทำ!” และหลักการอันนี้หมายถึง “ใครไม่สามารถทำสิ่งใดได้ตามที่ตัวเขาต้องการ หรือ ต้องการทำอะไรที่เขาเชื่อว่าเขามีสิทธิ์จะคัดค้าน แม้แต่ทำโดยลำพัง ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านรัฐบาล ที่แม้แต่เป็นรัฐบาลที่คนทุกคนในสังคมเป็นเจ้าของก็ตาม” คนที่จะมีเสรีภาพเยี่ยงนั้นได้ก็มีเพียงแต่จอมเผด็จการคนเดียวเท่านั้น นี่คือความหมายของหลักการที่สำคัญบรรยายโดย ดอสโตเยฟสกี้ ว่า “การเริ่มต้นด้วยเสรีภาพที่ไม่จำกัด, ย่อมนำฉันไปสู่การเป็นเผด็จการที่มีอำนาจไม่จำกัด”

เรื่องที่กล่าวไปนี้ก็คล้ายคลึงกับบุคคลอีกคนหนึ่งที่เป็น “บิดาของสำนักอนาธิปัตย์” คือ บาคูนิน ผู้ปึ่งเป็นที่รู้จักกันดีกว่าของปรูดองว่า หลักการของเขามีไว้เพื่อการใช้อำนาจเผด็จการ และเพื่อทำลายหลักการควบคุมแบบประชาธิปไตย

เหตุผลพื้นฐานก็แบบเดียวกันก็คือ อนาธิปัตย์ไม่ได้สนใจในการสร้างการควบคุมแบบประชาธิปไตยจากล่างสู่บน แต่ต้องการแค่ทำลาย “อำนาจแบบราชการ” เหนือปัจเจกบุคคล รวมถึงอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากสังคมที่เป็นประชาธิปไตยอย่างถึงที่สุดที่เราสามารถจินตนาการได้ด้วย มันชัดเจนโดยคำอธิบายของ ยอร์ช วู๊ดคอค ที่มีต่อแนวคิดของพวกอนาธิปัตย์เผด็จการว่า “แม้ว่าการสร้างประชาธิปไตยจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เพียงใดก็ตาม แต่พวกอนาธิปัตย์ก็จะไม่สนใจมัน... พวกอนาธิปัตย์จะไม่สนับสนุนเสรีภาพทางการเมือง สิ่งที่เขาสนับสนุนคือ อิสรภาพจากเรื่องของการเมือง...” แนวคิดอนาธิปัตย์วางอยู่บนหลักการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย เพราะว่า อำนาจอันชอบธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยก็ยังคงเป็นอำนาจทางการเมืองอยู่นั่นเอง และเพราะว่าอนาธิปัตย์ปฏิเสธประชาธิปไตย มันก็จะไม่มีทางแก้ปัญหาความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน และความแตกต่างในผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกันได้เลย เสรีภาพอันไม่จำกัดของคนที่ไม่สามารถถูกควบคุมได้แต่ละคนก็ไม่ต่างจากเผด็จการโดยคนๆเดียวที่มีอำนาจไม่จำกัดไม่ว่าจะในทางทฤษฎีหรือการปฏิบัติก็ตาม

ปัญหาใหญ่ของยุคสมัยเราก็คือจะทำอย่างไรให้เกิด หลักการควบคุมแบบประชาธิปไตยจากล่างสู่บนเหนืออำนาจควบคุมสังคมสมัยใหม่จากบนลงล่าง ให้ได้ แนวคิดอนาธิปัตย์ปึ่งอ้างเสรีภาพแบบน้ำท่วมทุ่งเกี่ยวกับสังคมนิยมจากล่างสู่บนได้ปฏิเสธเป้าหมายอันนี้ นี่คืออีกด้านตรงข้ามของเหรียญที่ปฏิเสธแนวทางเผด็จการแบบราชการ โดยการกลับหัวกลับหาง แต่ก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาอย่างแท้จริง

5. ลาสปาลและสังคมนิยมโดยรัฐ

ลักษณะหนึ่งในสังคมประชาธิปไตยอย่างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมันมักปรากฏให้เห็นว่ามีรากฐานมาจากแนวความคิดของลัทธิมาร์กป์ เช่นเดียวกับลัทธิสังคมนิยมอื่นๆ กล่าวได้ว่า ลัทธิมาร์กป์มีอิทธิพลอย่างสูงรวมไปถึงมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้นำหลายคนในบางช่วงเวลา แต่กระแสธารของสังคมนิยมในแง่ของการมีพรรคการเมืองก็ยังมีที่มาจากแหล่งอื่นอีก 2 แห่งด้วยกัน นั่นคือ จากความคิดของ ลาสปาล ผู้ที่ทำให้ลัทธิสังคมนิยมในเยอรมันกลายเป็นองค์กรเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งทางการเมือง (1863) และอีกความคิดหนึ่ง นั่นคือ ความคิดสังคมนิยมแบบเฟเบียนที่มีนักคิดอย่าง เอดว๊าด เบิร์นสไตน์ หรือในชื่อที่เรียกกันว่า “ลัทธิแก้”

สามารถกล่าวได้ว่า เฟอร์ดินาน ลาสปาล คือต้นแบบของนักคิดในสายของ สังคมนิยมโดยรัฐ ปึ่งหมายถึง การสร้างสังคมนิยมโดยใช้รูปแบบรัฐที่มีอยู่ ถึงแม้ว่าความคิดของเขาจะไม่โด่งดังเท่ากับความคิดของ หลุยส์ บลังค์ แต่รัฐเพื่อสังคมนิยมของเขานั้นก็หมายถึง รัฐของไกร์เปอร์ภายใต้การนำของพระเจ้าบิสมาร์ก

รัฐในความคิดของ ลาสปาล รัฐคือผู้ปลดปล่อยชนชั้นกรรมาชีพ กรรมาชีพไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองได้หากละเลยรัฐ ปึ่งความคิดนี้ขัดแย้งกับมาร์กป์โดยสิ้นเชิง ที่ว่ากรรมาชีพเท่านั้นที่จะเป็นผู้ที่ปลดปล่อยตัวเองและทำลายรัฐที่กดขี่ขูดรีดลง เอดว๊าด เบิร์นสไตน์ ถึงกับกล่าวว่าลาสปาลเชื่ออย่างคลั่งไคล้และบูชารัฐเป็นอย่างมาก ที่เขามองรัฐประดุจดังคบไฟแห่งอายุขัยของอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ ความคิดเช่นนี้ของเขาได้ประกาศอย่างชัดเจนในสภาปรัสเปีย ความเห็นในเรื่องรัฐที่แตกต่างกับมาร์กป์อย่างสุดขั้วนี้ทำให้ผู้ที่ศึกษา ลาสปาล ลงความเห็นว่าเขาและมาร์กป์ “เป็นปฏิปักษ์กัน” ในแง่ของความคิดเรื่องรัฐ และแสดงให้เห็นถึงการเชิดชูรูปแบบการปกครองที่ใช้ในรัฐปรัสเปีย ที่มีทั้งความคิดชาตินิยมและจักรวรรดินิยมรวมอยู่ด้วย

ลาสปาล ได้ก่อตั้งองค์กรสังคมนิยมแห่งเยอรมันขึ้นเป็นครั้งแรกตามวิถีทางแบบเผด็จการของเขา องค์กรของเขาได้ชื่อว่าเป็น องค์กรมวลชนขับเคลื่อนเพื่อสังคมนิยมจากข้างบน (ให้นึกถึงอาวุธทะลวงฐานที่มั่นของ แปงต์-ปีมอง) เป้าหมายขององค์กรจัดตั้งของ ลาสปาล ก็คือ การได้รับเสียงสนับสนุนจากกษัตริย์บิสมาร์กผ่านรัฐสภาแห่งปรัสเปีย เพื่อที่องค์กรมวลชนของเขาจะได้กลายเป็นองค์กรพันธมิตรใกล้ชิดกับรัฐของบิสมาร์กเพื่อที่จะสามารถต่อสู้กับชนชั้นเสรีนิยมกระฎุมพีได้ จนในที่สุด ลาสปาล ก็สามารถทำให้องค์กรมวลชนจัดตั้งของเขาเลื่อนฐานะไปใกล้ชิดกับอำนาจนำของรัฐได้ในที่สุดดังที่เขากล่าว

“ความคิดของข้าพเจ้าจะแสดงให้เห็นถึงความจริงที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่กรรมาชีพรู้สึกว่าอำนาจเผด็จการจะครอบงำ กรรมาชีพจะแสดงความต่อต้านโดยสัญชาติญาณในทันที ทีนี้เมื่อมองถึงสถาบันชั้นสูงในฐานะผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับชนชั้นกลางกระฎุมพี เมื่อใดก็ตามที่ชนชั้นกลางกระฎุมพีก้าวขึ้นกลายเป็นเผด็จการ มันก็จะมีแรงต่อต้าน แต่การต่อต้านนั้นจะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความยินยอมจากสถาบันชั้นสูงนั้นให้ถ่ายทอดอำนาจที่มีอยู่ไปสู่การเป็นสถาบันของมวลชนปฏิวัติ เมื่อนั้นแรงต่อต้านก็จะมีพลังมากยิ่งขึ้น”

ถึงแม้ว่าความคิดของ ลาสปาล ดังกล่าวจะไม่เป็นที่แพร่หลายมากในเวลานั้น แต่มาร์กป์ก็วิพากษ์วิจารณ์ความคิดของลาสปาลอย่างเปิดเผยว่านี่คือ ความคิดแบบ เผด็จการโบนาปาร์ต ปึ่งหมายถึง การให้ชนชั้นแรงงานกลายเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ มาร์กป์เรียกรัฐบาลในความคิดของลาสปาลนี้ว่า “รัฐบาลสังคมนิยมผู้จงรักภักดีแห่งปรัสเปีย” เพราะการสร้างพันธมิตรกับบิสมาร์กคือการ “ร่วมมือกับศัตรูที่เป็นศักดินาเพื่อต่อสู้กับกระฏุมพี”

“ในแง่ของการปฏิวัติเปลี่ยนผ่านสังคม” ลาสปาล มองว่าสังคมนิยมจะต้องเกิดจากการที่รัฐเป็นผู้ดูแลระบบการผลิตในลักษณะของสังคมแห่งความร่วมมือกัน ในขณะที่มาร์กป์กล่าวว่า สังคมนิยมจะต้องมีลักษณะที่ทำให้แรงงานมีคุณค่าและมีความสำคัญที่สุดในระบบการผลิตโดยไม่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือชนชั้นกระฎุมพี นี่น่าจะเป็นความหมายของอิสรภาพที่แท้จริงของสังคมนิยมจากเบื้องล่าง ปึ่งต่างกับสังคมนิยมโดยรัฐ

มันจะมีตัวอย่างของความเข้าใจบางประเด็นเกี่ยวกับความคิดในเรื่องนี้ของมาร์กป์ที่มาจากนักคิดสายอเมริกันที่ต่อต้านลัทธิมาร์กป์ เช่น ในงานเขียนของ เมโย ที่ชื่อว่า ประชาธิปไตยกับลัทธิมาร์กป์ (ต่อมาได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนชื่อเป็น บทเริ่มต้นสู่ทฤษฎีมาร์กปิสต์) งานชิ้นนี้พยายามพิสูจน์ว่า ลัทธิมาร์กป์นั้นขัดกับหลักประชาธิปไตย และเปรียบเสมือนความคิดที่แข็งทื่อแบบเดียวกับ “นิกายมอสโคว-ออธอร์ดอกป์” แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าผู้เขียนงานชิ้นนี้น่าจะกลับไปศึกษาลัทธิมาร์กป์ให้มากกว่านี้เพื่อที่จะเห็นได้ว่า ในงานเขียนของมาร์กป์ทั้งหมดไม่มีชิ้นใดที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มอำนาจให้แก่รัฐ มากไปกว่านั้นจะยังปรากฏให้เห็นในทางตรงกันข้ามที่ว่ามาร์กป์ไม่ใช่พวกนักคิดแบบ “รัฐนิยม”

“งานที่วิพากษ์วิจารณ์ลัทธิมาร์กป์ส่วนใหญ่มักจะลดทอนให้ลัทธิมาร์กป์เป็นเพียงลัทธิที่นิยมความสำคัญของรัฐ แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ในทฤษฎีทางการเมืองของลัทธิมาร์กป์จะพบว่าไม่มีตอนใดที่มาร์กป์พยายามทำให้รัฐกลายเป็นใหญ่และมีอำนาจควบคุมเหนือมวลชน”

อย่างไรก็ตามนักคิดสายอเมริกันผู้ต่อต้านลัทธิมาร์กป์ผู้นี้ก็ยังมิย่อท้อต่อการพิสูจน์ว่าลัทธิมาร์กป์นั้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มอำนาจรัฐ เมโยอธิบายดังนี้ (1) “รัฐนิยมจะต้องมีการพูดถึงการวางแผนงานเบ็ดเสร็จ...” (2) เมื่อพิจารณารัสเปียในฐานะสังคมนิยมจะเห็นการวางแผนงานอย่างรัดกุมเบ็ดเสร็จรอบด้าน แต่สำหรับลัทธิมาร์กป์ (ในความคิดของผู้วิจารณ์ลัทธิมาร์กป์คนอื่นๆ) จะเห็นว่า ลัทธิมาร์กป์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการออกแบบสังคมนิยม และยังจะเห็นอีกว่า พวกเขาได้แต่วิจารณ์พวกสังคมนิยมเพ้อฝัน พวกนักออกแบบสังคม และพวกนิยมการวางแผนจากบนลงล่างอย่างรุนแรง จะพบว่ามีความพยายามของลัทธิมาร์กป์ที่ต่อต้านแนวคิดที่เน้นการวางแผนจากบนลงล่างอย่างมาก (Planism) แต่อย่างไรก็ตามสังคมนิยม (ในความคิดของนักคิดต่อต้านลัทธิมาร์กป์) จะต้องรวมการออกแบบวางแผนเบ็ดเสร็จ แต่ “การวางแผนเบ็ดเสร็จ” ที่ไม่ปรากฏในงานของมาร์กป์ ทำให้ลัทธิมาร์กป์จึงไม่ได้เป็นสังคมนิยม และไม่สามารถนำพาไปสู่สังคมนิยมได้ในที่สุด

6. ตัวแบบสังคมนิยมเฟเบียน

ในเยอรมัน นอกจากความคิดเกี่ยวกับสังคมนิยมของ ลาสปาล แล้ว ก็ยังมีกลุ่มความคิดเกี่ยวกับสังคมนิยมในแบบอื่นๆที่น่าสนใจเช่นกัน

นักวิชาการสายสังคมนิยม (หรือ “ปัญญาชนสังคมนิยม” Kathedersozialisten - กระแสหนึ่งของสังคมนิยมนักวิชาการ) ได้หวนกลับไปศึกษาบิสมาร์กอย่างละเอียดยิ่งกว่า ลาสปาล แต่กระนั้นก็ตามความคิดเกี่ยวกับสังคมนิยมโดยรัฐของเหล่านักวิชาการก็มิได้แตกต่างไปจากความคิดของ ลาสปาลมากเท่าใดนัก เพียงแต่ ลาสปาล มองเป็นอันตรายอย่างยิ่งหากมีการจัดองค์กรเคลื่อนไหวแบบล่างขึ้นบน มันอาจทำให้สูญเสียอำนาจนำได้โดยง่าย ในตัวของพระเจ้าบิสมาร์กเองปึ่งเป็นที่รู้กันว่า ไม่ได้มีความเลื่อมใสในนโยบายเศรษฐกิจแบบพ่อดูแลลูกในลักษณะเดียวกับสังคมนิยมโดยรัฐเท่าใดนัก แต่ทว่างานเขียนชิ้นต่อๆไปส่วนใหญ่เกี่ยวกับความคิดสังคมนิยมมักทำให้สังคมนิยมและกษัตริย์บิสมาร์กกลายเป็น “สังคมนิยมที่ปกครองโดยกษัตริย์” หรือ “สังคมนิยมโดยรัฐแบบบิสมาร์ก” และงานเขียนเกี่ยวกับความคิดสังคมนิยมก็พัฒนาต่อไปจนไปเข้าทางความคิดฝ่ายขวาแบบ “ลัทธิสังคมนิยม” ของ ฟรีดริช ลิสท์ มากไปกว่านั้นได้พัฒนาไปสู่ความคิดแบบต่อต้านลัทธิทุนนิยมแบบนาปี หรือต่อต้านยิว (เช่นในงานของ ดูห์ริง เอ วากเนอร์) จนในที่สุดเหล่ามวลชนเคลื่อนไหวก็เรียกตัวเองว่ามวลชนเพื่อสังคมนิยมภายใต้ผู้นำอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

จากการที่งานเขียนเกี่ยวความคิดสังคมนิยมที่หลากหลายมาปะปนกัน ทำให้ลัทธิสังคมนิยมกลายความหมายเป็น สังคมนิยม คือ การปกครองที่รัฐเข้ามาแทรกแปงระบบเศรษฐกิจและวิถีชีวิตผู้คน ดังคำกล่าวของ ลาสปาล ที่ว่า (Staat, grief zu!) อันแปลได้ว่า “รัฐบาลจะต้องควบคุมทุกๆอย่าง!”

ด้วยเหตุนี้เอง ชยุมปีเตอร์ จึงกล่าวได้อย่างถูกต้องว่าสังคมนิยมโดยรัฐในแบบเยอรมันจึงเหมือนกับลัทธิสังคมนิยมเฟเบียนของปิดนีย์ เว็บบ์ ในอังกฤษ

เฟเบียน (หรือบ่อยครั้งที่เรียกว่า เว็บเบียน) คือ ความคิดสังคมนิยมแบบหนึ่งที่สวนทางกับแนวคิดของลัทธิมาร์กป์อย่างสิ้นเชิง อาจกล่าวได้ว่าคือ หนึ่งในความคิดที่เป็นสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบปฏิรูปสุดขั้ว เกิดขึ้นก่อนและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆต่อการช่วยเหลือสนับสนุนการรวมตัวกันของขบวนการแรงงานและองค์กรสังคมนิยมในอังกฤษ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ลัทธิสังคมนิยมแบบเฟเบียนแตกต่างกับกลุ่มปฏิรูปอื่นๆในช่วงเวลาเดียวกันที่ต่างมีสายสัมพันธ์บางอย่างร่วมกันกับลัทธิมาร์กป์ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เหมือนกันในตัวหลักการหรืออาจมีการลดทอนเพิ่มเติมให้แตกต่างกันไปบ้างก็ตาม

ความคิดแบบเฟเบียนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างมวลชนขับเคลื่อน แต่ไปเน้นที่ชนชั้นกลางเสียมากกว่า นักสังคมนิยมเฟเบียนจะยกตัวเองในฐานะกลุ่มนำผู้มีความรู้ความสามารถที่จะเข้าไปเผยแพร่ความคิดผ่านสถาบันรัฐที่มีอยู่ แล้วโน้มน้าวให้ผู้ที่มีอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในลักษณะของการพัฒนาไปสู่สังคมที่ดีกว่าอันเป็นจุดหมายร่วมกันและเพื่อป้องกันสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ทุนนิยมที่ “ค่อยๆคืบคลานเข้ามาไม่หยุด” ด้วยการที่ความรู้สึกเกี่ยวกับสังคมนิยมในยุคนั้นมีความหมายเท่ากับการให้รัฐเข้าแทรกแปงกิจการต่างๆเพื่อสู้กับศัตรู คือ ลัทธิทุนนิยมที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว งานของพวกเฟเบียนจึงมุ่งที่จะเร่งรัดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทุนนิยมอย่างเร็วขึ้นเพื่อที่มันจะทำลายตัวเองลงในที่สุด สังคมอุดมคติในแบบของเฟเบียนจึงถูกออกแบบขึ้นในปี 1884 เปรียบเสมือนโครงการนำร่องที่สังคมนิยมเฟเบียนจะเป็นเหยื่อล่อปลาฉลาม โดยฉลามตัวแรกคือพรรคเสรีนิยมฝ่ายทุน เมื่อใดที่เสรีนิยมฝ่ายทุนที่เป็นรัฐบาลเสื่อมสลายลงและเมื่อใดที่แรงงานได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรพรรคการเมืองของชนชั้นตนขึ้น เมื่อนั้นชนชั้นแรงงานก็จะกลายเป็นเจ้าของสังคมนิยมแบบเฟเบียนที่ตนสร้างนั่นเอง

ดูเหมือนว่าจะไม่มีความคิดสังคมนิยมใดๆที่วางแผนการทางทฤษฎีอย่างมีระบบระเบียบได้เท่ากับสังคมนิยมจากบนลงล่างอีกแล้ว โดยธรรมชาติของขบวนการเคลื่อนไหวจากบนลงล่างเช่นนี้ทำให้ลัทธิสังคมนิยมแบบเฟเบียนมีความคล้ายคลึงกับองค์กรของแรงงานสายปฏิรูปอย่างยิ่ง บางครั้งนักสังคมนิยมสายคริสเตียนในสังคมนิยมแบบเฟเบียนเองก็กล่าวโจมตีเว็บบ์ว่า มีลักษณะของ “คณะข้าราชการรวมหมู่” ในงานเขียนที่มีชื่อเสียงของ ฮิลเลียร์ เบลล็อค ที่เขียนในปี 1912 ชื่อว่า “รัฐผู้รับใช้” งานชิ้นนี้ได้ชื่อว่ารับอิทธิพลทางความคิดมาจากความเชื่อใน “แนวทางแบบร่วมมือกัน” ที่มีในตัวของ เว็บบ์ กล่าวคือเป็นพื้นฐานทั่วไปของระบบราชการ นอกจากนั้น จี ดี เอช โค ก็กล่าวว่า เว็บบ์ มักจะพูดอยู่เสมอๆว่า “ความคิดทางการเมืองในผู้ที่หลงใหลชื่นชอบการเมืองมีอยู่เพียง 2 พวกเท่านั้น ก็คือ ถ้าไม่ใช่พวกที่นิยมลัทธิอนาธิปัตย์ ก็จะเป็นพวกข้าราชการ ปึ่งโดยมากก็ล้วนแต่ใฝ่ในทางราชการทั้งสิ้น...”

ลักษณะทางความคิดของ เว็บบ์ ในฐานะที่เป็นผู้นิยมในแนวทางความร่วมมือกันแบบเว็บเบียนหรือเฟเบียนมีความโดดเด่นอยู่ที่การจัดการที่รัดกุมเบ็ดเสร็จ ข้าราชการระดับสูง ชนชั้นนำอำนาจนิยม และ “นักวางแผนผู้เชี่ยวชาญ” ทำให้ภาพของ เว็บบ์ ปรากฏออกมาในฐานะที่เป็นผู้ชักใยทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ผู้นิยมเฟเบียนที่ตีพิมพ์งานขยายความคิดออกมาถึงกับหวังว่า สิ่งพิมพ์ของพวกเขาจะเปรียบเสมือน “พระเยปูแห่งสังคมนิยม” ในฐานะที่เป็นผู้สอนผู้ชี้ทางสว่างให้แก่ผู้คน การต่อสู้ทางชนชั้นผ่านการปฏิวัติที่รุนแรงหรือความวุ่นวายของมวลชนถือเป็นความบ้าคลั่งที่ควรหลีกเลี่ยง สังคมนิยมแบบเฟเบียนมีความหวังที่จะเผยแพร่และทำให้อาณาจักรของพวกเขาเป็นเหมือนลัทธิจักรวรรดินิยมที่ทุกคนจะต้องสรรเสริญและยกย่อง แต่ทั้งหมดจะทำได้ก็ต่อเมื่อองค์กรสังคมนิยมได้พัฒนาระบบคณะราชการรวมหมู่ของพวกเขาจนมีประสิทธิภาพเสียก่อน

“หลายคนอาจคิดว่าสังคมนิยมจะต้องมาจากเบื้องล่างเท่านั้นนั่นคือมาจากองค์กรชนชั้น” นี่คือคำกล่าวของ ปิดนีย์ บอล ผู้นิยมลัทธิเฟเบียน และเพื่อที่จะลบภาพเช่นนั้นออกไปเราต้องแสดงให้ผู้คนเห็นว่า “กระบวนการเปลี่ยนสังคมไปสู่สังคมนิยมคือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มิใช่เพียงความรู้สึกที่มาจากจิตสำนึกของผู้คน เพราะนักคิดของสังคมนิยมเฟเบียนมาจากชนชั้นกลางผู้มีความรู้” “นี่คือความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างสังคมนิยมของผู้เชี่ยวชาญ (แบบเฟเบียน-ผู้แปล) กับสังคมนิยมข้างถนน” เขากล่าวอย่างโอ้อวด

แต่ในเวลาต่อมาเมื่อขบวนการเฟเบียนได้ถูกบดบังโดยกระแสความยิ่งใหญ่ของพรรคแรงงานสายปฏิรูปในช่วงปี 1918 บรรดาแกนนำของลัทธิเฟเบียนก็ได้เปลี่ยนทิศทางทางความคิดไป ทั้งปิดนีย์ และ เบียร์ทริป เว็บบ์ รวมถึง ยอร์ช เบอร์นาร์ด ชอว์ ได้กลายเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือต่อการวางรากฐานของลัทธิเผด็จการของสตาลินในช่วงปี 1930 เบอร์นาร์ด ชอว์ เสนอว่าการที่จะสร้างสังคมนิยมได้ต้องอาศัย บุคคลเหนือมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เขาจึงให้การสนับสนุนชื่นชมมุสโสลินีและฮิตเลอร์ว่าจะเป็นผู้สร้างสังคมนิยม แต่เมื่อภายหลังกลับเผยให้เห็นว่าทั้ง ฮิตเลอร์ และ มุสโสลินี ก็มิได้ทำลายลัทธิทุนนิยมลงไปได้ ทำให้เขาผิดหวังมากจนกระทั่งเขาได้ค้นพบว่า รูปแบบของลัทธิสตาลินนี่เองที่คล้ายกับแนวคิดของเฟเบียนที่สุด เบอร์นาร์ด ชอว์ จึงได้จุดประกายให้ครอบครัว เว็บบ์ ไปยังมอสโควและในที่สุดพวกเขาก็ค้นพบกับทางสว่างจนออกมาเป็นงานเขียนที่ชื่อ โปเวียต คอมมิวนิสต์: อารยะธรรมใหม่ ในงานชิ้นนี้ ( ประมวลจากข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาจากคำอ้างของสตาลินและเอกสารต่างๆของรัฐบาลโปเวียต) ได้พิสูจน์ว่าสังคมรัสเปียมีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในโลก และสตาลินก็มิใช่เผด็จการแต่อย่างใด แต่เป็นผู้นำที่เท่าเทียมกับคนของเขา การมีพรรคเผด็จการพรรคเดียวเป็นเรื่องที่จำเป็น พรรคคอมมิวนิสต์จะเป็นผู้ที่นำประชาธิปไตยมาสู่ประชาชนทุกหมู่เหล่าไม่ว่าจะเป็นชาวสลาฟหรือมองโกลผ่านกลุ่มนำของพวกเขา (แต่ไม่ใช่สำหรับชาวอังกฤษ) พรรคประชาธิปไตยในตะวันตกต่างล้วนแล้วแต่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และก็ไม่มีเหตุผลว่าทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จได้เลยในยุคสมัยของพวกเรา

พวกเฟเบียนสนับสนุนอย่างแข็งขันออกนอกหน้าเมื่อสตาลินร่วมมือกับฮิตเลอร์ และไม่สนใจที่จะวิพากษ์วิจารณ์สตาลินแต่อย่างใด ชอว์อธิบายว่า พวกครอบครัวเว็บบ์ถึงกับดูหมิ่นการปฏิวัติโดยประชาชนชาวรัสเปียเพราะ “พวกเขาเชื่อมั่นว่าจะรอจนกว่าการเปลี่ยนแปลงจะถึงทางตันของมันเอง เมื่อนั้นรัฐคอมมิวนิสต์ก็จะเกิดขึ้น” พวกเขารอที่จะให้กลุ่มประชาชนปฏิวัติถูกทำลายล้างลงไป ผู้นำการปฏิวัติจะต้องถูกทำลาย เมื่อสภาวะของเผด็จการก็จะเกิดขึ้น กลุ่มต่อต้านการปฏิวัติก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ และในที่สุดก็จะมีการประกาศถึงอุดมการณ์ที่ต้องทำนั่นคือ การสร้างสังคมนิยมจากบนลงล่าง

นี่คือความเข้าใจผิดครั้งใหญ่หรือความสะเพร่าอย่างที่ไม่สามารถเข้าใจได้กันแน่? หรือว่าพวกเขาเข้าใจผิดว่านี่คือ “สังคมนิยม” ที่พวกเขาใฝ่ฝันถึงอาจต้องแลกมาด้วยการเสียเลือดเนื้อเล็กน้อยแต่ก็ยังสามารถยอมรับได้? สังคมนิยมเฟเบียนในหมู่ชนชั้นกลางที่นำไปสู่การสนับสนุนลัทธิเผด็จการของสตาลิน คือ ตัวแบบชัดเจนที่สุดของสังคมนิยมจากบนลงล่าง

หากมองย้อนกลับไปในช่วงก่อนที่จะเปลี่ยนศตวรรษที่นำไปสู่การเติบโตของลัทธิสังคมนิยมเฟเบียน เราจะเห็นว่า ได้มีมุมมองอื่นๆที่ขัดแย้งจากสังคมนิยมของเว็บบ์ หนึ่งในผู้ที่โต้แย้งที่สำคัญที่มีลักษณะผู้นำการปฏิวัติอันโดดเด่นที่สุดในองค์กรสังคมนิยมยุคนั้น ผู้เป็นทั้งกวีและศิลปินอย่าง วิลเลียม มอร์ริส ผู้ปึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นนักมาร์กปิสต์ผู้โดดเด่นในช่วงวัยอายุ 40ปี งานเขียนของบุคคลผู้นี้ทุกๆท่วงทำนอง มักเต็มไปด้วยการพูดถึงการสร้างสังคมนิยมจากเบื้องล่างปึ่งแตกต่างกับ เว็บบ์ อย่างสิ้นเชิง มันคือการต่อต้านแนวคิดของ เว็บบ์ อย่างรุนแรง เขายังต่อต้านสังคมนิยม “สายมาร์กปิสต์” ในแบบฉบับอังกฤษที่ไปคล้ายคลึงกับความคิดของ ลาสปาล รวมไปถึงความคิดเผด็จการของ เอช เอ็ม ไฮนด์แมน การต่อต้านสังคมนิยมโดยรัฐอย่างรุนแรงและความรังเกียจแนวคิดคณะข้าราชการรวมหมู่เพ้อฝันจากงานของ เบลลามี่ ที่ชื่อว่า มองย้อนกลับไป ความรู้สึกเหล่านี้มีในตัวมอร์ริสทั้งสิ้น (เขากล่าวอย่างเสียดสีว่า “ถ้าพวกมันจะสั่งให้ข้าพเจ้าไปเป็นทหารในกองทัพของแรงงาน ข้าพเจ้าจะเตะพวกมันให้กระเด็น”)

งานเขียนเกี่ยวกับสังคมนิยมของมอร์ริสเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและมุ่งความสำคัญไปที่การสร้างสังคมนิยมจากเบื้องล่างและความหวังเพื่ออนาคตของสังคมนิยมในงานที่ชื่อ ข่าวสารจากที่หนใด โดยหนังสือเล่มนี้ได้โจมตีหนังสือของเบลลามี่ ดังนี้

“ปัจเจกบุคคลไม่สามารถถ่ายเทชีวิตของตนไปให้สิ่งที่เป็นนามธรรมที่เรียกว่ารัฐ แต่ทว่าทุกคนต้องร่วมมือกัน ความหลากหลายของแต่ละปัจเจกบุคคลและความเท่าเทียมกันโดยธรรมชาตินี้เอง คือสิ่งที่จะพาทุกคนไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ หรือสังคมที่มีเสรีภาพที่แท้จริง”

“ถึงแม้ว่านักสังคมนิยมบางคน” เขากล่าว “จะเป็นผู้ที่รอบรู้แต่ก็ยังสับสนที่จะใช้กลไกต่างๆเพื่อเข้าไปถึงแก่นแกนของสังคมนิยมในตัวของมัน” นั่นหมายถึง “อันตรายโดยง่ายของชุมชนที่จะตกอยู่ในมือของระบบราชการ” ถึงแม้ว่า มอร์ริส จะเป็นผู้ต่อต้านระบบ “คณะราชการรวมหมู่” อย่างรุนแรงหรือคัดง้างกับแนวคิดสังคมนิยมโดยรัฐและสายปฏิรูป รวมถึงต่อต้านแนวคิดแบบอนาธิปัตย์ แต่ในที่สุดเขาก็ตกอยู่ในวังวนของแนวคิดที่ต่อต้านระบอบรัฐสภาที่ไม่ต่างไปจากความคิดแบบอนาธิปัตย์ที่ว่า

“ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและบ่อยครั้งก็จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่เราต้องทำคืออะไร? พรรคการเมืองใดที่จะมาแก้ปัญหานี้? สหายนักอนาธิปัตย์มักจะกล่าวว่าอำนาจจะต้องไม่ตกอยู่ในมือคนส่วนมาก ดังนั้นมันต้องอยู่ในมือคนส่วนน้อย หรือ? แล้วมันจะนำไปสู่การมีอภิสิทธิ์ของคนไม่กี่คนอีกหรือไม่?”

“ปัญหาเหล่านี้ย้อนกลับไปตั้งคำถามกับแก่นแกนของแนวคิดอนาธิปัตย์ที่ว่า แนวคิดนี้เป็นยิ่งกว่าอุดมคติ”

เมื่อคนอย่าง วิลเลียม มอร์ริส พบกับ ปิดนีย์ เว็บบ์ มันก็คือผลรวมของเรื่องราวสำหรับบทนี้

7. ภาพลวงตาของ “ลัทธิแก้”

เอดว๊าด เบิร์นสไตน์ เจ้าทฤษฎีของแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือที่เป็นที่รู้จักกันในนามของ “ลัทธิแก้” เขาได้รับแรงกระตุ้นมาจากแนวความคิดแบบเฟเบียนที่มีอิทธิพลทางความคิดอย่างมากในลอนดอนช่วงนั้น ถึงแม้ เบิร์นสไตน์ จะไม่ได้เป็นต้นคิดนโยบายปฏิรูปในปี 1896 ก็ตาม แต่ก็เรียกได้ว่าเขาเป็นผู้แทนทางความคิดของสำนักนี้เลยก็ว่าได้ ( แกนนำคนสำคัญของพรรคผู้ปึ่งไม่สนใจในตัวทฤษฎีถึงกับกล่าวกับ เบิร์สไตน์ ว่า “บางคนดีแต่พูด แต่บางคนลงมือทำ” เป็นนัยๆว่าความคิดทางการเมืองของสายสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมันนั้นได้หย่าร้างกับลัทธิมาร์กป์มานานก่อนที่นักทฤษฎีมาร์กปิสต์จะเริ่มคิดทฤษฎีเพื่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงได้เสียอีก

ความคิดของเบิร์นสไตน์ก็มิใช่การ “นำกลับมาปรับปรุง” ของลัทธิมาร์กป์ แต่บทบาทของเขาอยู่ที่การแสร้งว่าต้องการที่จะเสริมสร้างต่อยอดความคิดของลัทธิมาร์กป์ เดิมทีการเสแสร้งมิใช่ความจำเป็นของชาวลัทธิเฟเบียน พวกเขาสามารถประกาศตัวได้อย่างเปิดเผย แต่สำหรับในเยอรมัน มันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำลายลัทธิมาร์กป์อย่างโจ่งแจ้ง ส่งผลให้ “สังคมนิยมจากเบื้องบน” (“die alte Scheisse”) ในความคิดของเบิร์นสไตน์จึงต้องวางอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “การทำใหม่” หรือ “ลัทธิแก้” นั่นเอง

ในความเป็นจริงทั้งความคิดแบบลัทธิแก้และความคิดแบบเฟเบียน จะพบว่ามีความเป็นสังคมนิยมอยู่ในพฤติกรรมอันหลีกเลี่ยงมิได้ของการปกครองแบบรวมหมู่ในตัวของระบบทุนนิยมเช่นกัน กล่าวคือ ขบวนการสังคมนิยม คือ ผลรวมของเป้าหมายในการบริหารจัดการร่วมที่มีอยู่ภายในตัวระบบทุนนิยมเอง มันคือ การ “ทำให้เป็นสังคมนิยม” ของระบบทุนนิยมจากเบื้องบนผ่านกลไกหรือสถาบันรัฐที่ดำรงอยู่ ปึ่งทำให้เกิดความคล้ายคลึงกันระหว่าง “การทำให้รัฐมีความรัดกุม” กับ “ลัทธิสังคมนิยม” และความคิดนี้ก็มิได้เป็นผลผลิตของลัทธิสตาลินแต่อย่างใด แต่มันคือ การสร้างระบบระเบียบอย่างหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า เฟเบียน-ลัทธิแก้-สังคมนิยมโดยรัฐ ปึ่งเป็นกระแสหนึ่งในสายปฏิรูปแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย

การเปลี่ยนผ่านของลัทธิสังคมนิยมไปสู่ระบบการบริหารงานรวมหมู่แบบราชการของ เบิร์นสไตน์ มักจะโจมตีแนวคิดแบบประชาธิปไตยของแรงงาน เบิร์นสไตน์ ประณามความคิดของกรรมาชีพที่จะทำการควบคุมระบบอุตสาหกรรมด้วยตัวเอง โดยเขาได้ให้นิยามความหมายของประชาธิปไตยของแรงงานเสียใหม่และตั้งคำถามกับมันว่าเป็นการ “ปกครองโดยประชาชน” จริงหรือไม่? สำหรับเขาแล้วมันควรจะต้อง “ปราศจากรัฐบาลของชนชั้น” ดังนั้นการที่จะเรียก ประชาธิปไตยของแรงงาน ว่าเป็นแนวคิดของสังคมนิยมจึงเป็นสิ่งที่ไร้สาระสิ้นดี หากจะนิยามความหมายใหม่ให้แก่คำว่าประชาธิปไตยให้ถูกต้องก็น่าจะมาจากการนิยามของนักปัญญาชนชาวคอมมิวนิสต์เท่านั้น สำหรับเขาแล้วเสรีภาพทางการเมืองและสถาบันผู้แทนก็ยังได้รับการนิยามว่าเป็นผลทางทฤษฎีที่น่าพอใจ เบิร์นสไตน์ อาจมิใช่ผู้ที่ต่อต้านประชาธิปไตยตัวแทนเหมือนกับ ลาสปาล และ ชอว์ ทั้งสองสิ่งนี้ (เสรีภาพทางการเมืองและสถาบันผู้แทน) จึงไปได้ดีกับแนวสังคมนิยมจากบนลงล่างที่ต้องการองค์ประกอบดังกล่าวเพื่อใช้ในการก่อรูปร่างของทฤษฎี ข้อสรุปนี้กล่าวได้ว่า เบิร์นสไตน์ คือ เจ้าสำนักสังคมนิยมประชาธิปไตย มิใช่แค่สำหรับความสมานฉันท์ระหว่าง “การทำให้เป็นรัฐที่รัดกุม” กับ “ลัทธิสังคมนิยม” ที่เขาคิดเท่านั้น แต่เขาเป็นผู้แยก “ประชาธิปไตยของแรงงาน” ออกจากลัทธิสังคมนิยมอย่างเด็ดขาดด้วย

ดูเหมือนว่า เบิร์นสไตน์ ได้สรุปว่า การต่อต้านรัฐของมาร์กป์ทำให้เกิดสภาวะอนาธิปัตย์ และสิ่งที่ ลาสปาล พยายามสร้างสังคมนิยมโดยที่มีรัฐเป็นตัวริเริ่มนั้นถูกต้องแล้ว เขาเขียนไว้ว่า “โครงสร้างการบริหารจัดการของรัฐในอนาคตที่กำลังมาถึงมีความแตกต่างไปจากรัฐในปัจจุบันเพียงบางระดับเท่านั้น” และ “การทำให้รัฐหายไป” ไม่ต่างอะไรกับความคิดของพวกสังคมนิยมแบบเพ้อฝัน เขายกภาพรัฐที่ยังคงอยู่ของ ไกร์เปอร์ เพื่อให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า ในที่สุดรัฐของ ไกร์เปอร์ นั้นได้กลายเป็นรัฐจักรวรรดินิยมด้วยตัวของมันเอง เบิร์นสไตน์ จึงบอกว่า รัฐในความคิดของเขานั้นไม่ใช่รัฐที่เป็นรัฐจักรวรรดินิยมและกระทำ “ภาระหน้าที่ของคนขาว” “ความเป็นธรรมเล็กๆน้อยๆที่มอบให้โดยคนเถื่อนอาจเกิดขึ้นได้จริงอยู่บ้าง แต่อารยะธรรมที่เหนือกว่าเท่านั้นที่จะสามารถมอบความเป็นธรรมอันปราศจากเงื่อนไขใดๆทั้งปวงได้”

เบิร์นสไตน์ เปรียบเทียบมุมมองของเขาเกี่ยวกับหนทางที่จะนำไปสู่สังคมนิยมกับมุมมองของมาร์กป์ สำหรับเขามองว่าหนทางไปสู่สังคมนิยมของมาร์กป์ คือ ภาพที่เต็มไปด้วยเหล่ากองทัพที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยการเดินบนทางที่อ้อมและต้องหลบหลีกอุปสรรคต่างๆนานา ปึ่งในที่สุดหนทางนั้นมักไปจบลงที่ก้นเหว จุดยืนและเป้าหมายสูงสุดคือการได้พบกับรัฐที่จะมาถึงในอนาคต หนทางนี้อาจต้องข้ามฝ่าทะเลแดงเพื่อพานพบ แต่สำหรับเบิร์นสไตน์ มุมมองของเขามิใช่การข้ามฟันฝ่าทะเลแดงแต่เป็นเส้นทางที่โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ ปึ่งหมายถึงการที่สงครามระหว่างชนชั้นจะถูกแทนที่ด้วยการประนีประนอมปรองดองกัน มันคือการเปลี่ยนชนชั้นกระฎุมพีให้กลายเป็นข้าราชการที่ดีของรัฐ แต่สำหรับความจริงที่เกิดขึ้นมิได้เป็นเช่นนั้น ความคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยของ เบิร์นสไตน์ ได้นำมาปฏิบัติใช้จริงเมื่อมีการปฏิวัติของฝ่ายป้ายในปี 1919 ต่อมาหลังจากนั้นปรากฏว่ามีการหวนคืนก่อร่างสร้างตัวใหม่ของชนชั้นกระฎุมพี และชนชั้นนี้เองได้ไปเสริมอำนาจให้กับกองทัพที่ในเวลาต่อมานำพาเยอรมันไปสู่ความเป็นเผด็จการฟาสปิสต์

หาก เบิร์นสไตน์ คือ เจ้าทฤษฎีของแนวความคิดแบบการบริหารของคณะข้าราชการร่วมในลัทธิสังคมนิยม โรป่า ลักเปมเบิร์ก ก็คือคู่ตรงข้ามที่ขัดแย้งและเป็นปีกป้ายของขบวนการทางการเมืองของเยอรมันในยุคนั้นที่ต่อมาได้กลายเป็นแกนนำขององค์กรสากลคอมมิวนิสต์ที่ 2 อันเป็นองค์กรสากลที่มีจุดยืนบนความเชื่อมั่นในการปฏิวัติสังคมนิยมประชาธิปไตยจากเบื้องล่าง เธอคือผู้ที่ยึดมั่นอย่างแน่วแน่ในแนวทางการต่อสู้ด้วยวิธีการรวมตัวกันของมวลชนกรรมาชีพ จนมีการตั้งชื่อรูปแบบวิธีการของเธอโดยที่เธอเองก็ไม่เคยคิดว่ามันเป็น “ทฤษฎีการต่อสู้ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง” สำหรับเธอแล้วนั้น “ลักษณะที่จะเกิดขึ้นเอง” คือการสร้างความสมดุลอันจะเป็นฐานไปสู่ “สภาวะผู้นำ”

ในขบวนการเคลื่อนไหว เธอได้พยายามสร้างข้อถกเถียงเกี่ยวกับ “การปฏิวัติ” ที่ชี้นำโดยชนชั้นนำอันจะเป็นความคิดที่นำไปสู่การเป็นเผด็จการของผู้มีการศึกษาเหนือมวลชนแรงงาน เธอได้เขียนถึงเรื่องนี้ว่า “หากปราศจากจิตสำนึก และเมื่อสำนึกในการกระทำไม่เกิดขึ้นในมวลหมู่กรรมาชีพส่วนใหญ่แล้ว มันไม่มีทางที่จะนำไปสู่สังคมนิยม…[พวกเรา]จะไม่มีวันยอมรับอำนาจปกครองของรัฐบาล จนกว่าอำนาจนั้นจะเป็นที่ยอมรับและไม่ป่อนเร้นบิดเบือนความต้องการของมวลชนส่วนใหญ่ของกรรมาชีพในเยอรมัน...” และคติอันโด่งดังของเธอที่ว่า “ความผิดพลาดใดๆที่มาจากการกระทำของขบวนการแรงงานในการปฏิวัตินั้นย่อมเป็นผลผลิตที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ และคุ้มค่าเสียยิ่งกว่าความพลาดพลั้งของคณะกรรมการกลางที่ฉลาดและเก่งที่สุดด้วยป้ำ”

เมื่อ โรป่า ลักเปมเบิร์ก ปะทะกับ เอดว๊าด เบิร์นสไตน์ ก็กลายเป็นเรื่องราวของบทเรียนในเยอรมันนั่นเอง

8. ว่าด้วยสังคมนิยมอเมริกัน 100 เปอร์เป็นต์

ความเฟื่องฟูของแนวคิด “สังคมนิยมของคนพื้นเมือง” ในอเมริกานั้นก็ให้ภาพเช่นเดียวกัน (กับในยุโรป-ผู้แปล) หากเรามองข้ามการนำเข้าแนวคิด “สังคมนิยมเยอรมัน” (สำนักลาสปาลที่ตัดต่อความคิดมาร์กปิสต์ให้เข้ากับของตน) ของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมันในช่วงแรก เราก็จะเห็นแต่งานของ เอ็ดเวิร์ด เบลลามี และหนังสือของเขา มองย้อนกลับไป (1887) แต่ก่อนหน้าที่เราจะเห็นแนวคิดสังคมนิยมในอเมริกาในปัจจุบันได้มีนักคิดที่ถูกลืมอีกคนก่อนหน้านั้นก็คือ ลอว์เรนป์ โกรนลุ่นด์ ผู้เขียนหนังสือ ความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่ภายใต้ความร่วมมือกัน (1884) ปึ่งกลายเป็นหนังสือขายดีมียอดขายสูงถึง 100,000 เล่ม และถือได้ว่ามีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดเล่มหนึ่งในปัจจุบัน

โกรนลุ่นด์ เป็นคนที่มีหัวคิดทันต่อเหตุการณ์มาก โดยที่เขาเองไม่ได้พูดว่าเขาปฏิเสธประชาธิปไตย เขาแค่ “ให้ความหมายใหม่” กับมัน เช่น “การบริหารจัดการโดยการแข่งขันกัน” ปึ่งตรงข้ามกับ “การปกครองโดยคนส่วนใหญ่” บวกกับการเสนอให้ยกเลิกอย่างประนีประนอมต่อการปกครองระบบตัวแทน และพรรคการเมือง เขาพร่ำสอนว่า “ประชาชน” ทุกคนต้องการ “การบริหารจัดการ - การบริหารจัดการที่ดี” โดยประชาชนทั้งหลายควรแสวงหา “คณะผู้นำที่ถูกต้อง” และต่อมาก็ควรที่จะ “มอบอำนาจทั้งหมดให้อยู่ในมือผู้นำทั้งหลาย” การปกครองแบบตัวแทนจะต้องถูกแทนที่ด้วยการปกครองโดยประชาชนทั้งหมด ปึ่งเขามั่นใจว่าข้อเสนอของเขาจะเป็นไปได้ด้วยดี เขาอธิบายต่อว่า เพราะว่ามันเคยทำงานด้วยดีในระบบการปกครองที่มีลำดับสูงต่ำของโบสถ์คาทอลิคมาก่อน แน่ละโดยธรรมชาติแล้ว เขาปฏิเสธแนวคิดว่าด้วยการต่อสู้ทางชนชั้น แรงงานไม่มีปัญญาจะเปลี่ยนโลกด้วยตัวเขาเอง และเขาก็ประณามหลักการพื้นฐานอันนี้มาร์กป์ที่เสนอให้ชนชั้นแรงงานต้องปลดปล่อยตัวของพวกเขาเอง ผู้ปกครองที่มาจากการแข่งขันของปัญญาชนจะต้องเป็นผู้ปลดปล่อยคนธรรมดาๆ เมื่อมาถึงขั้นนี้เขาได้พยายามสร้างองค์กรลับที่วางแผนโดยคนไม่กี่คนที่เรียกว่าสมาคมนักศึกษาชายเพื่อสังคมนิยมขึ้น

ส่วนแนวความคิดสังคมนิยมยูโทเปียของเบลลามีในหนังสือ มองย้อนกลับไป ได้เสนอว่า รูปแบบของกองทัพนั้นเป็นรูปแบบในอุดมคติของสังคม มีลำดับชั้นที่ถูกปกครองและออกคำสั่งโดยผู้นำปักคนหนึ่ง บริหารจัดการแบบบนลงล่าง โดยอยู่ร่วมกันอย่างสุขสบายและมีเป้าหมายร่วมกันดุจหมู่ผึ้งในรังเดียวกัน เรื่องราวอันนี้ได้ฉายภาพของการเปลี่ยนผ่านของสังคมโดยมีการรวมศูนย์ปกครองของสังคมไปสู่การปกครองที่มีเพียงหน่วยธุรกิจขนาดใหญ่อันเดียวเท่านั้น หรืออาจเรียกว่า เป็นนายทุนใหญ่คนเดียว ที่มีค่าเท่ากับรัฐ สิทธิของการเลือกตั้งที่เท่าเทียมระหว่างหญิงกับชายต้องถูกยกเลิกไป องค์กรของประชาชนจากข้างล่างต้องถูกกำจัดให้สิ้นปาก การตัดสินใจทั้งมวลจะถูกกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่บริหารงานจากข้างบน หนึ่งในผู้ติดตามของเบลลามีเรียกแนวคิดนี้ว่า “สังคมนิยมอเมริกัน” เขากล่าวต่อว่า “มันคือแนวคิดสังคมนิยมที่มีระบบอุตสาหกรรมที่บริหารจัดการเป็นเลิศ ที่เหตุผลทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้วเสมือนล้อเฟือง และหลักการเช่นนี้เองจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันที่น้อยที่สุด และความมั่งคั่งร่ำรวยและความพึงพอใจที่สูงที่สุดสำหรับคนทุกคน”

เช่นเดียวกันกับกรณีพวกอนาธิปัตย์ ทางออกที่ดูน่าตื่นเต้นของเบลลามีต่อปัญหาการจัดการองค์กรของสังคม ก็คือจะแก้ปัญหาความแตกต่างกันของความคิดและผลประโยชน์ที่แต่ละคนมีแตกต่างกันได้อย่างไร นี่คือ สมมติฐาน ที่ว่า ชนชั้นปกครองจะมีความฉลาดปราดเปรื่องเหนือมนุษย์ทั่วไป และคนเหล่านี้จะไม่มีวันนำไปสู่ความอยุติธรรมอย่างแน่นอน (เช่นเดียวกับที่เผด็จการแบบสตาลินชอบอ้างว่าพรรคไม่มีวันทำผิด) สมมติฐานเช่นว่านี้นำไปสู่การมองว่า การควบคุมแบบประชาธิปไตยจากล่างสู่บนไม่มีความจำเป็น สำหรับเบลลามีนั้นยิ่งเป็นไปไม่ได้ใหญ่ เพราะเขาเชื่อว่า มวลชน แรงงาน เป็นผีร้ายที่อันตราย ขบวนการของเบลลามีนั้นเรียกตัวเองว่า “แนวชาตินิยม” ปึ่งมีลักษณะที่ ต่อต้านสังคมนิยม และ ต่อต้านทุนนิยม พร้อมๆกัน โดยมีรูปแบบที่ดึงดูดชนชั้นกลางคล้ายกับแนวเฟเบียน

เรากำลังพูดถึงนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงของปีก “คนพื้นเมือง” ของแนวสังคมนิยมอเมริกัน ผู้ที่แนวคิดของเขาสะท้อนผ่านการที่ไม่ได้เป็น และต่อต้านมาร์กปิสต์ที่สำคัญในขบวนการทางสังคมในศตวรรษที่ 20 โดยการฟื้นคืนชีพของ “แก๊งเบลลามี” ในต้นทศวรรษที่ 1930 เมื่อ จอห์น ดิวอี้ กล่าวสรรเสริญหนังสือ มองย้อนกลับไป โดยกล่าวว่ามันเป็นต้นแบบของประชาธิปไตยแบบอเมริกัน “(เบลามี-ผู้แปล) ได้เปิดเผยให้เห็นแล้วว่า ธาตุแท้ของกลุ่มราชการผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายนั้นก็คือเผด็จการฟาสปิสต์ ถ้าเราต้องการจะเห็นว่าเส้นแบ่งระหว่างสิ่งที่เรียกว่า สังคมนิยม กับ เผด็จการฟาสปิสต์ มันบางแค่ไหน ก็ลองอ่านหนังสือที่ชี้ให้เห็นถึงความร้ายกาจของ “สังคมนิยม” ปึ่งเขียนโดย นักสังคมนิยมผู้เคยมีชื่อเสียงมาก และสมาชิกคนสำคัญของพรรคสังคมนิยมผู้มีนามว่า ชาร์ลส พี สไตน์เมตส์” หนังสือที่ชื่อว่า อเมริกากับยุคใหม่ (1916) นี้ถือว่าเป็นหนังสือเล่มหนักอึ้งทางความคิดเล่มหนึ่งปึ่งตายไปแล้วของการต่อต้านยูโทเปีย โดยเขียนขึ้นในลักษณะที่เป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ ที่เล่าว่า การปกครองรัฐสภาอเมริกันได้ถูกแทนที่ด้วยการปกครองของผู้บริหารจากบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น ดูปอง, เยเนอรัล มอเตอร์ส และอื่นๆ สไตน์เมตส์ เสนอว่า บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้น (เช่นเดียวกับนายจ้างของเขาคือ เยเนรัล อิเลคทริค) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิผลที่สุด และเขายังเสนอให้ยกเลิกการที่รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมโดยตรงต่อกิจการของบริษัทผูกขาดเหล่านี้

แนวคิดแบบเบลลามีเริ่มต้นจากการพูดว่าเราจะสร้างสังคมนิยม แต่มันเป็นเส้นทางแบบมีหลายแง่หลายง่าม เมื่อโลกก้าวสู่ศตวรรษใหม่ แนวคิดสังคมนิยมอเมริกันได้พัฒนาไปสู่การเป็นสังคมนิยมจากบนลงล่างอย่างถึงที่สุด ผู้ที่ผลักดันไปในแนวทางนั้นก็คือ ยูยีน เดบส์ ในปี 1897 เดบส์ ยังคงเรียกร้องให้ จอห์น ดี รอกกี้เฟลเลอร์ เข้ามาให้เงินสนับสนุนในโครงการสร้างสังคมนิยมในอุดมคติให้เกิดขึ้นในโลกตะวันตก แต่ต่อมาสังคมนิยมของเดบส์ได้ย้ายมาสู่ต่อสู้ทางชนชั้นโดยขบวนการกรรมาชีพกองหน้าได้ในท้ายที่สุด

หัวใจของ “สังคมนิยมแบบเดบส์” ก็คือการสร้างแรงดึงดูดและความศรัทธาต่อกิจกรรมที่จัดการกันเองของมวลชนจากข้างล่าง ในข้อเขียนและปาฐกถาของเดบส์นั้นเต็มไปด้วยหลักการทำนองนี้ เขามักจะอ้างถึงหรือสรุปคำพูดใน “หลักการแรกสุด” ของมาร์กป์ว่า “การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของทาสสมัยใหม่ก็คือเสรีภาพของพวกเขาต้องถูกทำให้เป็นจริง นี่คือเคล็ดลับของความสมานฉันท์ และหัวใจของความหวัง...” และคำกล่าวที่คลาสลิคของเขาก็คือ “มันนานเกินไปที่ชนชั้นกรรมกรในโลกรอคอยการมาถึงของพระเจ้าผู้ที่จะปลดปล่อยพวกเขาจากพันธนาการ พระเจ้าไม่เคยมาจริงๆ และเขาก็จะไม่มีวันมา ฉันจะไม่นำพาพวกท่านออกไปแม้ว่าฉันจะสามารถทำเช่นนั้น และหากพวกท่านยินยอมให้ฉันพาพวกท่านออกไป ท่านทั้งหลายก็จะถูกเหวี่ยงกลับมาอีกครั้ง ฉันอยากให้ท่านทั้งหลายทำมันด้วยหัวใจของท่านเองที่ไม่มีอะไรจะมาขวางได้หากท่านจะทำมัน” เขาสะท้อนคำพูดของมาร์กป์ที่ได้กล่าวไว้ในปี 1850 ดังนี้

“ในการต่อสู้ของชนชั้นแรงงานเพื่อจะปลดปล่อยตนเองออกจากการเป็นทาสของค่าแรงไม่สามารถเกิดได้โดยให้ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นกับการมีชีวิตไปเรื่อยๆประจำวันของแรงงาน หากคำถามพื้นฐานที่สุดก็คือ จะทำอย่างไรที่ชนชั้นแรงงานจะพัฒนาตัวเขาเองผ่านการศึกษา การรวมกลุ่ม การร่วมมือกัน และการสร้างหลักการของตนเองขึ้นมา เพื่อควบคุมพลังทางการผลิต และบริหารจัดการอุตสาหกรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของพวกเขาเองและเพื่อสังคมโดยรวม? นี่คือทั้งหมดที่ควรจะเป็น”

เป็นไปได้แค่ไหนที่ชนชั้นแรงงานจะพัฒนาตนเอง? ... ในประเด็นนี้เดบส์เองก็สับสนเกี่ยวกับชนชั้นกรรมาชีพว่าเคยเป็นอย่างไร (หรือว่าตอนนี้เป็นอย่างไร) แต่เขาเสนอเป้าหมายที่แตกต่างจากแนวของชนชั้นปกครองที่คอยชี้นิ้วสั่ง และที่ชนชั้นปกครองคอยพร่ำสอนให้ประชาชนทำและเชื่อมั่นในสิ่งที่งี่เง่าอย่างที่พวกชนชั้นปกครองต้องการ ในการต่อต้านความเชื่อมั่นศรัทธาในกฎเกณฑ์ของชนชั้นที่ปกครองจากบนลงล่างนั้น เดบส์หักล้างแนวคิดว่าด้วย กองหน้า ของการปฏิวัติ (ปึ่งมักเป็นคนส่วนน้อย) ที่เชื่อมั่นว่าหนทางนี้จะเป็นไปเพื่อคนส่วนใหญ่ได้ ดังที่เขากล่าวว่า

“มันคือคนกลุ่มน้อยที่สร้างประวัติศาสตร์ของโลกใบนี้ [เขาพูดในคราวปาฐกถาต่อต้านสงครามในปี 1917 ที่เขาโดนรัฐบาลวิลสันจับเข้าคุก] มันคือคนกลุ่มน้อยที่มุ่งมั่นอย่างมากในการยืนอยู่ในฐานะกองหน้า ผู้ปึ่งมีความชอบธรรมเพียงพอที่จะพูดความจริงปึ่งอยู่ในตัวของพวกเขาเอง ผู้ปึ่งกล้าที่จะคัดค้านระเบียบของสิ่งต่างๆที่ถูกสร้างไว้แล้ว ผู้ที่ต่อสู้เพื่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก และคนยากจนที่ไม่ยอมจำนน ผู้ปึ่งยืนหยัดโดยปราศจากการคำนึงถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำที่ถูกต้องและความมุ่งมั่นในเสรีภาพของตนเอง”

แนว “สังคมนิยมของเดบส์” นี้ที่ปลุกเร้าพลังอันยิ่งใหญ่จากก้นบึ้งหัวใจของประชาชน แต่เดบส์ไม่เคยประสบความสำเร็จในการนำมาปึ่งสังคมนิยมที่อยู่บนหลักการประชาธิปไตยอันเกิดจากการปฏิวัติเลย พวกหัวก้าวหน้าหลังยุคสงครามนั้น พรรคสังคมนิยมกลายเป็นผู้ที่ดูน่าเคารพยกย่องอย่างมากในด้านหนึ่ง ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์ก็กลายเป็นแนวสตาลินในอีกด้านหนึ่ง ในขณะเดียวกันพวกเสรีนิยมอเมริกันก็เร่งรัดกระบวนการเพิ่มอำนาจรัฐให้มากขึ้นจนในที่สุดได้มีผลออกมาเป็นนโยบายปฏิรูปใหม่ของประธานาธิบดีรูสเวลท์ในทศวรรษที่ 1930 มุมมองแบบชนชั้นปกครองที่มีต่อการทำทานจากบนลงล่างภายใต้ระบอบประธานาธิบดีแบบเผด็จการนั้นได้ดึงดูดความสนใจของพวกเสรีนิยมทั้งหลายต่อชนชั้นปกครองที่นั่งอยู่ในทำเนียบขาวและทำท่าเสมือนหนึ่งเป็นพวกบิสมาร์คหรือลาสปาล

ลักษณะเช่นนี้ถูกทำให้ปรากฏเด่นชัดโดย ลินคอน สเตฟเฟนส์ นักเสรีนิยมแบบรวมหมู่ที่เป็นที่ดึงดูดอย่างมากต่อคนอย่างมุสโสลินีไปจนถึงมอสโคว (เช่นเดียวกับที่ ชอว์ และยอร์ช ปอเรล ได้รับคำชื่นชมจากคนพวกนี้) อัพตอน ปินแคลร์ ผู้ปึ่งแยกตัวออกจากพรรคสังคมนิยมเนื่องด้วยลักษณะที่ “นิยมการแบ่งกลุ่มย่อยภายในองค์กร” มากเกินไป ได้สร้างขบวนการ “วงกว้าง” และนำไปสู่ “ขบวนการหยุดความยากจนแห่งแคลิฟอเนียร์” โดยมีคำประกาศที่เรียกตัวเขาเองว่า ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอเนียร์ และฉันจะกำจัดความจนได้อย่างไร (ดูเหมือนคำประกาศนี้จะก้าวหน้ามากเมื่อเรามองดูคำว่า ฉัน ที่อยู่ในชื่อของคำประกาศนี้) ปึ่งพูดในประเด็นที่ว่า สังคมนิยมจากข้างบนในปาคราเมนโต หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทมากในขณะนั้นคือ สจ๊วต เชส ผู้ที่มีพฤติกรรมที่น่าพิศวงและไม่ตรงไปตรงมาอย่างยิ่งโดยการผันตัวเองจากแนวปฏิรูปของสมาพันธ์เพื่อประชาธิปไตยอุตสาหกรรม ไปสู่ ระบบข้าราชการกึ่งฟาสปิสต์ เราจะพบว่ามันมีบรรยากาศของแนวสตาลินอยู่มากในหมู่ปัญญาชนที่พยายามแปรสภาพไปสู่การเป็นผู้ให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันแก่ประธานาธิบดีรูสเวลท์ และรัฐบาลรัสเปีย โดยให้คำปรึกษาแก่ทั้ง เอ็นอาร์เอ และรัฐบาลมอสโคว มันมีสัญญาณบ่งชี้หลายครั้งว่า พอล บลานชาร์ด ผู้ปึ่งแปรพักตร์จากพรรคสังคมนิยมไปเป็นพวกของรูสเวลท์ภายใต้การสนับสนุนนโยบายปฏิรูปใหม่ที่ต้องการ “ระบบทุนนิยมที่มีการบริหารจัดการ” ที่แย่งชิงการนำเสนอการเปลี่ยนแปลงสังคมไปจากมือของพวกสังคมนิยม

นโยบายปฏิรูปใหม่นั้นถูกเรียกขานว่าเป็น “ยุคของสังคมนิยมประชาธิปไตย” ของคนอเมริกัน ปึ่งก็เช่นเดียวกันมันเป็นสิ่งที่พวกเสรีนิยมและพวกสังคมนิยมประชาธิปไตยรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่พวกเขารับได้อย่างหน้าชื่นตาบานโดยไม่กระดากที่จะบอกว่ามันเป็นสังคมนิยมจากบนลงล่าง หรือที่รูสเวลท์เรียกมันว่าเป็นสังคมอุดมคติที่ “กษัตริย์เป็นของประชาชน” นี่คือความหลอกลวงของแนว “สังคมนิยมจากบนลงล่าง” ของรูสเวลท์ที่ร่วมมือกับ พวกสังคมนิยมไร้จุดยืน, พวกเสรีนิยมข้าราชการ, พวกชนชั้นปกครองที่นิยมสตาลิน, และการผสานกันได้อย่างดีกับพวกเน้นความเป็นส่วนรวมในรัสเปีย และพวกนายทุนที่รวมกลุ่มกันภายใต้ชุดของหลักการอันเดียวกัน

9. ร่องรอย 6 ประการของสังคมนิยมจากบนลงล่าง

เราได้เห็นความแตกต่างระหว่างร่องรอยหรือกระแสของสังคมนิยมจากบนลงล่าง แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางเหล่านี้ก็มีความคล้ายคลึงและผสมปะปนกันไปบ้าง ต่อไปนี้คือมุมมองที่สำคัญบางประการที่ปรากฏในแนวคิดของสังคมนิยมจากบนลงล่าง

1.   ความใฝ่ดีต่อสังคม - ลัทธิสังคมนิยม (หรือ “เสรีภาพ”)ได้มีการสืบทอดอยู่ในความคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อผู้อื่นด้วยความรู้สึกอิ่มเอิบใจอย่างเต็มเปี่ยม ใน แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ มีการกล่าวถึงสังคมนิยมยูโทเปียในแบบของ โรเบิร์ต โอเวน ที่ว่า “การสำนึกถึงความรู้สึกในความเป็นชนชั้นกรรมาชีพที่มีพลังจะต้องมากไปกว่าการสำนึกว่าเป็นชนชั้นที่ถูกกดขี่ที่สุดเท่านั้น” ผู้ถูกกดขี่จะต้องอยู่เหนือความเขลาที่ไม่รู้จักในสิ่งที่เรียกว่าการต่อสู้ทางชนชั้นหรือการปลดปล่อยตัวเองออกจากโป่ตรวน ปึ่งมุมมองดังกล่าวสามารถนำไปสู่ประเด็นเรื่องของ...

2.   การนิยมในชนชั้นนำ - หลังจากที่เราได้พบว่าลัทธิสังคมนิยมได้กลายเป็นเรื่องของการควบคุมโดยคณะบุคคลส่วนน้อยที่ไม่ใช่นายทุนและความยึดมั่นในการควบคุมไม่ว่าจะเพียงแค่ชั่วคราวหรือยาวนานถาวรก็ตาม ชนชั้นนำใหม่นี้เองที่จะยึดตัวเองเข้ากับการเป็น ผู้นำเผด็จการที่มีการศึกษาเหนือมวลชนพื้นฐาน การทำเพื่อสังคมแน่นอนว่าเผด็จการจะกระทำในนามพรรคของชนชั้นนำโดยใช้กำลังบังคับควบคุมและสั่งการคนเบื้องล่าง หรือในบทบาทของผู้เปี่ยมด้วยเมตตาหรือผู้ชี้ทางสว่าง หรือ “ยอดมนุษย์” ตามแบบความคิดของ ชอว์ หรือ “ผู้จัดการนักอนาธิปัตย์” ในความคิดของพรูดอง หรือกระทั่งคณะเทคโนแครทในความคิดแบบ แปงต์-ปีมอง ปึ่งทั้งสิ้นล้วนแล้วแต่เป็นความคิดที่ทันสมัยและเป็นรากฐานทางทฤษฎีที่จะใช้ในการถกเถียงกับลัทธิมาร์กป์ในศตวรรษที่ 19 ได้

ในทางหนึ่งนักปฏิวัติประชาธิปไตยที่สนับสนุนแนวคิดแบบสังคมนิยมจากเบื้องล่างมักจะเป็นกลุ่มของคนส่วนน้อย แต่ถ้าในแง่ของความแตกต่างระหว่าง แนวการวิเคราะห์แบบชนชั้นนำ กับความคิดเรื่องกองหน้าในการปฏิวัติ ก็ยังคงมีอยู่มหาศาลดังที่เราเห็นได้ในกรณีของ เด็บส์ (Debs) สำหรับเขาแล้วมาร์กป์และลักเปมเบิร์กกล่าวถึงหน้าที่ของกองหน้าในการปฏิวัติก็เพื่อขับเคลื่อนให้มวลชนหมู่มาก เตรียมพร้อมที่จะยึดอำนาจในนามของพวกเขาเองและภายใต้การต่อสู้ที่กระทำในนามของพวกเขา ประเด็นสำคัญมิได้เพียงเพื่อแสดงถึงความสำคัญของการมีคณะนำที่เป็นคนส่วนน้อยแต่เพื่อที่จะนำเสนอความสัมพันธ์ที่ต่างออกไประหว่างคณะคนส่วนน้อยกับมวลชนที่คอยหนุนหลัง

3. การเน้นการวางแผน - คำสำคัญเช่น ประสิทธิภาพ คำสั่ง การวางแผน ระบบ และการบังคับบัญชาของลัทธิสังคมนิยม ก็เพื่อความพยายามที่จะลดการออกแบบสังคมโดยการทำงานของพลังที่อยู่เหนือสังคม ตรง ณ จุดนี้มิได้ต้องการที่จะปฏิเสธว่าสังคมนิยมที่มีประสิทธิภาพจะต้องไม่ใช้การควบคุมวางแผนแบบเบ็ดเสร็จ (แต่อย่างไรก็ตามการควบคุมวางแผนเบ็ดเสร็จและสั่งการก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่บ้าง) แต่การลดทอนสังคมนิยมเพื่อวางแผนการผลิตทั้งหมดถือว่าเป็นคนละเรื่องกันเสมือนกับที่ว่า ประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพที่สุดต้องมาจากสิทธิในการออกเสียง แต่การทำให้เป็นประชาธิปไตยน้อยลงด้วยการเพิ่มสิทธิในการออกเสียงมากเป็นพิเศษบางครั้งก็กระทำโดยการฉ้อโกง

ที่จริงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะทำให้การวางแผนอย่างเป็นระบบโดยประชาธิปไตยจากข้างล่างไม่กลายเป็นเรื่องที่น่าเยาะเย้ยขบขัน เพราะเมื่อมาพิจารณาถึงความสลับปับป้อนของสังคมในระบบอุตสาหกรรมทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าขาดปึ่งประสิทธิภาพเนื่องมาจากการวางแผนที่มาจากคำสั่งของคณะกรรมการข้างบนที่มีอำนาจเพียงเท่านั้น ปึ่งมิได้ยินยอมให้เกิดความอิสระของส่วนล่างมาช่วยตรวจสอบแก้ไขความผิดพลาดอีกทางหนึ่ง นี่คือความขัดแย้งพื้นฐานในตัวเองของระบบการขูดรีดแบบใหม่ที่มีระบบการบริหารโดยข้าราชการรวมหมู่ของโปเวียตเป็นผู้นำไปใช้ แต่เราก็จะละประเด็นนี้ไว้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป

การเข้ามาของความคิดแบบการบริหารจัดการในลัทธิสังคมนิยมมีความเป็นมายาวนานก่อนที่มันจะปรากฏเป็นรูปร่างในโปเวียตในรูปมายาภาพของความเท่ากันระหว่าง การทำให้รัฐมีความรัดกุม กับ ลัทธิสังคมนิยม หลักการที่ปึ่งเราได้อธิบายไปก่อนหน้านี้อย่างเป็นระบบระเบียบในความคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยสายปฏิรูป (ตามแนวคิดของ เบิร์นสไตน์ และเฟเบียน) ในระหว่างปี 1930 กล่าวได้ว่า “การวางแผน” เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการโฆษณาชวนเชื่อที่โปเวียตใช้และชัดเจนมากไปอีกเมื่อมันไปสอดคล้องกับความคิดของพวกปีกขวาของสำนักสังคม-ประชาธิปไตย ที่มี เฮนรี เดอ มาน อันเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเปรียบเสมือนผู้พยากรณ์หรือผู้รับช่วงต่อของความคิดของมาร์กป์ แต่สุดท้ายแล้วเขาก็กลายเป็นบุคคลที่ถูกลืมและหนำป้ำคำพยากรณ์ของเขายังผิดพลาดอย่างที่สุดเมื่อความคิดทฤษฎีตามแนวลัทธิแก้ของเขาไปเข้าทางกับแนวที่เน้นความร่วมมือระหว่างรัฐ-นายทุน-แรงงาน และถึงจุดจบเมื่อไปสนับสนุนกับแนวทางของลัทธินาปี

นอกจากการก่อร่างสร้างตัวทางทฤษฎีแล้ว ลัทธิวางแผนนิยมก็ปรากฏชัดในขบวนการสังคมนิยมมากขึ้นในรูปแบบความคิดเชิงจิตวิทยาสุดขั้ว เพื่อที่จะเผยให้ให้เห็นภาพชัดที่สุดต้องมองย้อนกลับไปในงานของเบลล็อค ที่ชื่อว่า “รัฐแห่งการรับใช้” อันมีกลิ่นอายของความเป็นเฟเบียนอยู่บ้าง ดังนี้

“ความหลงใหลในสำนักการบริหารจัดการรวมหมู่ …เกิดจากการที่มันคือรูปแบบของสังคมโดยทั่วไป เขา(ตัวเอกของเรื่อง-ผู้แปล)รักในความคิดที่รัฐคือผู้ควบคุมที่ดินและทุนในสังคมผ่านคณะข้าราชการสาธารณะ มีอำนาจที่จะสั่งการคนอื่นๆให้หลีกเลี่ยงผลลัพธ์ของการกระทำของพวกเขาเอง ผลลัพธ์ที่อาจมาจากความผิดพลาด ความเดือดดาลใจ และความเขลา ( เบลล็อค ก็ยังเขียนต่อไป: ) สำหรับเขาการกดขี่ขูดรีดไม่ได้ไปกระตุ้นความเดือดดาลใจในตัวเขาแต่อย่างใด แม้ว่าเขาจะมิใช่บุคคลประเภทที่เคยชินกับความรู้สึกแบบนี้เท่าใดนัก...(เบลล็อคเขียนนิยมแนวคิดของปิดนีย์ เว็บบ์ดังนี้)...แต่ภาพที่จะมองเห็นก็คือระบบข้าราชการขนาดใหญ่จะเป็นผู้ที่จัดการปัญหาทั้งหมดในทางที่มันควรจะเป็น...ทำให้เขาได้อิ่มท้องและเกิดความพึงพอใจในที่สุด”

ตัวอย่างร่วมสมัยของแนวคิดที่เชิดชูระบบการร่วมมือแบบลัทธิสตาลิน ก็ยังสามารถพบได้ในวารสารวิชาการที่ชื่อ มันท์ลีย์ รีวิว ปึ่งมี พอล สวีปีย์ เป็นผู้เขียนด้วยเช่นกัน

แมกป์ อีสต์แมน เมื่อครั้งที่เขายังสวามิภักดิ์กับแนวคิดแบบเลนินนิสม์ เขียนในบทความเมื่อปี 1930 เรื่องความคิดเกี่ยวกับ “รูปแบบแรงจูงใจของลัทธิสังคมนิยม” จำแนกความคิดเรื่องนี้ให้เป็นแกนกลางของ “ความมีประสิทธิภาพและองค์กรที่ปราดเปรื่อง...ความน่าอภิรมณ์ที่ยืดหยุ่นได้ของแผนการ...องค์กรเยี่ยงธุรกิจ” ดังที่เขาได้บรรยายรัสเปียภายใต้สตาลินว่าน่าชวนหลงใหล ดังนี้

“ต้องขออภัยสำหรับที่ใดๆที่เรื่องของจุดยืนเพื่อการปลดปล่อยมนุษยชาติเป็นความฝันบ้าไร้สาระยากเกินกว่าที่จะเกิดขึ้น ขณะนี้ผู้สร้างการเคลื่อนไหวแนวมาร์กปิสต์และผู้จัดตั้งองค์กรที่นำชัยชนะมาสู่รัสเปีย ทำให้ความฝันบ้านี้เป็นจริง และความฝันบ้าเช่นก็จะเป็นศูนย์กลางของแรงขับเคลื่อนทั้งหมดให้เป็นจริงไปทั่ว พวกเขาคือนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา บางทีเลนินอาจโดดเด่นที่สุดเมื่อความคิดของเขาได้นำไปสู่การกบฏครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ความคิดที่เขาต้องการที่จะปลดปล่อยมนุษย์ไปสู่เสรีภาพ…ถ้ามีความคิดใดความคิดหนึ่งที่จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพื่อปลดปล่อยมนุษยชาติในงานของพวกมาร์กปิสต์ทั้งหมด งานของเลนินที่ชื่อ เสรีภาพของมนุษย์ น่าจะเป็นชิ้นที่ถูกเลือก”

ที่จริงมันควรจะต้องเพิ่มไปว่า เลนินนั้นครั้งหนึ่งเคยวิพากษ์วิจารณ์ความพยายามที่จะวางแผนแบบเบ็ดเสร็จว่าเป็น “ระบบที่ปกครองโดยข้าราชการแบบยูโทเปีย”

มันมีบางส่วนย่อยที่อยู่ภายใต้ลัทธิวางแผนนิยมและก็ควรจะมีชื่อเรียกด้วยเช่นกัน ในที่นี้เราเรียกว่า “การผลิตนิยม” แนวคิดนี้ตั้งอยู่บนความจริงที่ว่าคนทุกคนดำรงอยู่ “เพื่อ” การผลิต เฉกเช่นที่ทุกคนดำรงอยู่เพื่อคุณธรรมและความดี การผลิตนั้นคือตัวชี้ขาดความแน่วแน่และจุดจบของสังคมมนุษย์ การผลิตภายใต้ระบบการบริหารจัดการของคณะราชการร่วมในรัสเปียคือสิ่งที่ “ก้าวหน้า” วัดจากสถิติที่ได้มาภายใต้การผลิตวิธีนี้ (วิธีการผลิตนี้พยายามไม่เอาตัวเองไปเทียบกับการเพิ่มการผลิตของนาปีหรือการผลิตในระบบทุนนิยมแบบญี่ปุ่น) การผลิตในวิธีนี้สนับสนุนการทำลายและกีดกั้นการทำงานของสหภาพแรงงานภายใต้การปกครองของเผด็จการเช่น นาสเปอร์, คาสโตร, ปูการ์โน หรือ กูร์มาห์ เพราะยึดมั่นว่า “การพัฒนาทางเศรษฐกิจ” ย่อมอยู่เหนือสิทธิมนุษยชน ความคิดที่เลวร้ายนี้อาจไม่ได้เป็นมุมมองที่มาจากพวก “สุดขั้ว” แต่มีที่มาเช่นเดียวกับพวกนายทุนผู้กดขี่แรงงานที่เห็นแก่ตัวตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และหน้าที่ของนักสังคมนิยมก็คือการต่อสู้แบบตาต่อตาฟันต่อฟันกับพวกนักคิดผู้ให้กำเนิดความคิดดังกล่าว “การกดขี่ที่ก้าวหน้า” และบรรดาผู้ปกครองอำนาจนิยม “ฝ่ายป้าย” สมัยใหม่เองก็ค่อนข้างที่จะรับเอาความคิดโบราณเช่นนี้มาใช้อธิบายว่ามันเป็นความจริงทางสังคมที่ต้องยอมรับเช่นเดียวกัน

4.   “สังคมคอมมิวนิสต์” - ในงานเขียนของ แม็กป์ อีสต์แมน เมื่อปี 1930 ให้ความหมายของคอมมิวนิสต์ว่าเป็น “ระบบพี่น้องร่วมกัน” ของ “การอยู่เป็นฝูงหรือความสามัคคีภายใต้สังคมนิยม” - “การรวมกันโดยศรัทธาและอยู่รวมกันเป็นฝูงสัตว์เพื่อความสามัคคีของมวลมนุษย์” แต่ไม่ควรเอาความหมายนี้ไปสับสนกับความสามัคคีในการรวมตัวโดยเฉพาะในการประท้วง และไม่ใช่ความสามัคคีกันระหว่างเหล่าสหายที่ใช้ในขบวนการเคลื่อนไหวสังคมนิยม หรือ “ความเป็นชุมชน” ใดๆ แต่จะเป็นคุณลักษณะพิเศษดังที่ อีสต์แมน ได้กล่าวไว้ว่าคือ “การละทิ้งในรูปแบบเบ็ดเสร็จ หรือการหาหนทางละทิ้งตนเองไปสู่อ้อมกอดของพระผู้เป็นเจ้า”

อีสต์แมนพยายามเน้นไปยังนักเขียนของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ชื่อ ไมค์ โกล์ด รวมถึงกรณีที่ใกล้เคียงกันของ แฮรี่ เอฟ วาร์ด ผู้สร้างทฤษฎีที่สลัดทิ้งความคิดแบบเอกัตภาพของบุคคล ในงานเขียนของเบลลามีถึงกับเปิดเผยว่าความคิดของเขาเป็นกรณีคลาสลิค ที่ว่าทฤษฎีนี้มีความปรารถนา “เพื่อความกลมกลืนกันอันนำไปสู่ศักยภาพทั้งหมดที่มีของจักรวาลที่เป็นหนึ่ง” ความคิดเรื่อง “ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในความสมานฉันท์” ของเขาได้สะท้อนความไม่ไว้ใจในสภาพปัจเจกนิยม เขามีความปรารถนาที่จะทำให้แต่ละบุคคลละลายความเป็นตัวตน ไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า

ร่องรอยนี้คือสิ่งที่เด่นที่สุดของสำนักอำนาจนิยมของลัทธิสังคมนิยมจากข้างบน และมักไม่ค่อยปรากฏในกรณีของความคิดแบบพวกกลุ่มชนชั้นนำผู้ใจบุญในมุมมองของสำนักสังคมนิยมแนวคริสเตียนเท่าใดนัก โดยปกติแล้วรูปแบบของ “สังคมที่ร่วมมือกัน” ในลัทธิสังคมนิยมมักจะใช้สำหรับในความหมายของ “สังคมนิยมที่มีศีลธรรม” และได้รับสรรเสริญเชิดชูแต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้การต่อสู้ทางชนชั้นกลายเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ดังนั้นภาพของความขัดแย้งจึงไม่มีในสังคมคอมมิวนิสต์ มีแต่การทำให้เกิดสมดุลระหว่าง “การบริหารจัดการร่วม” กับ “ปัจเจกชนนิยม” (ในที่นี้คนละความหมายกับจุดยืนของพวกมนุษย์นิยม) แต่ก็ไม่ใช่ลักษณะแบบเอกัตภาพส่วนตัวปึ่งเชื่อถือไม่ได้

5.   การแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการจากพวกชนชั้นนำ - สังคมนิยมจากบนลงล่างมีความสมเหตุสมผลอย่างมากในการสร้างตัวเลือกที่จะขับเคลื่อนมวลชนที่อยู่เบื้องล่าง ในกรณีนี้จะจำแนกออกเป็น 2 หมวดหมู่ใหญ่ๆคือ

จำพวกแรก คือ ทัศนคติที่จะล้มล้างอำนาจแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่มีความเป็นลำดับขั้นในสังคมทุนนิยมก็เพื่อที่จะแทนที่ด้วยความเป็นลำดับขั้นรูปแบบใหม่ที่มิได้มาจากระบบทุนนิยมนั่นคือรูปแบบของลำดับขั้นโดยกลุ่มชนชั้นนำ (รูปแบบนี้ทำให้การปฏิวัติแตกหักกลายเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของสังคมนิยม) ส่วนอีกจำพวกหนึ่งคือทัศนคติของการแผ่ป่านศูนย์กลางของอำนาจในสังคมที่ดำรงอยู่ “อันจะเป็นลำดับขั้น” ไปสู่รูปแบบของรัฐที่มีการบริหารจัดการร่วมกันภายใน จากโมเลกุลสู่โมเลกุล นี่คือความอัปยศของลัทธิปฏิรูปและสังคมนิยมประชาธิปไตยอันเป็นคุณลักษณะหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมจากเบื้องบน

กระแสของการแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการจากพวกชนชั้นนำถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวอธิบายของสิ่งที่เราเรียกว่า การปฏิรูปที่ “บริสุทธิ์และเข้มข้น” ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ปึ่งคล้ายกับลัทธิเฟเบียนของ ปิดนีย์ เว็บบ์ การแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการจากพวกชนชั้นนำของสังคมนิยมประชาธิปไตยตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เป็นไปตามกลไกอันหลีกเลี่ยงมิได้ของมัน คือ การหลีกเลี่ยงมิได้ของการสะสมทุนร่วมกันด้วยตัวเองเฉพาะส่วนบนเหมือนที่ทุนนิยมใช้ก็จะเกิดขึ้นในสังคมนิยมเช่นกัน แต่แรงกดดันจากข้างล่างจะเป็นตัวเร่งและทำให้กระบวนการสมบูรณ์รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ข้างล่างต้องถูกควบคุมอย่างรัดกุมเพื่อมิให้ขัดขวางกระบวนการดังกล่าวของส่วนบน ดังนั้นพวกที่นิยมการแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการโดยพวกชนชั้นนำของสำนักสังคมนิยมประชาธิปไตยอาจวิตกกังวล ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปอยู่ในกระบวนการ “ก่อร่างสร้างตัว” ของส่วนบนแทนที่จะต่อสู้กับส่วนบนโดยแสดงตนในฐานะของผู้รับใช้หรือรัฐมนตรี ดังนั้นวิธีที่ขบวนการเคลื่อนไหวจากเบื้องล่างจะสามารถหักหลังกลุ่มผู้ยึดกุมอำนาจได้ดีที่สุดก็คือการปื้อตัวพวกเขา (ผู้นิยมการแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการจากพวกชนชั้นนำ-ผู้แปล) เพื่อมิให้มีโอกาสในการเข้าไปสู่กระบวนการก่อร่างสร้างตัว

เป็นที่ทราบกันดีว่า หนทางของลัทธิทุนนิยมก็คือ การใช้ระบบกรรมสิทธิ์เพื่อการสะสมทุน ปึ่งหมายถึงการสะสมทุนของคนส่วนน้อยเช่น การสะสมทุนเพื่อรักษากรรมสิทธิ์ร่วมกันในหมู่เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นคณะข้าราชการ แต่ทว่าทุกวันนี้จะพบเห็นได้ว่ามีการนำกระบวนการลักษณะเดียวกันนี้มาใช้ในประเทศที่เป็นสังคมนิยมประชาธิปไตยเช่นกัน ทุกวันนี้นักทฤษฎีปฏิรูปนิยมใหม่ (neo-reformism) อย่าง ปี เอ อาร์ ครอสแลนด์ ได้ติติงความคิดของบุคคลอย่าง ปิดนีย์ เว็บบ์ (และ อาเธอร์ เฮนเดอร์สัน) เกี่ยวกับการทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างตกเป็นของรัฐที่ทั้งคู่ได้ร่วมกันร่างนโยบายเกี่ยวกับชนชั้นแรงงานของอังกฤษไว้ ดูเหมือนว่าความคิดแนวสังคมนิยมประชาธิปไตยในยุโรปขณะนี้ได้ตีตัวออกห่างความคิดต่อต้านลัทธิทุนนิยมไปทุกขณะ หรือนี่อาจจะเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของลัทธิสังคมนิยม สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนเป็นภาพสะท้อนที่ว่าลัทธิสังคมนิยมกำลังถูกแช่แข็งให้ใช้การไม่ได้

หากคิดในแง่หนึ่งนี่อาจจะเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของการแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการจากพวกชนชั้นนำของสังคมนิยมก็ได้ แต่ดูเหมือนว่ายุทธศาสตร์เช่นนี้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับรูปแบบของนโยบายสหรัฐอเมริกา โดยนโยบายนี้เป็นนโยบายประเภทที่สนับสนุนการทำงานของพรรคเดโมแครทและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักเสรีนิยมกับชนชั้นแรงงานภายใต้ “ฉันทามติจอห์นสัน” ที่ได้รับการริเริ่มในสมัยประธานาธิบดีจอห์นสันเป็นครั้งแรก

ความโดดเด่นระหว่างทั้งสอง “จำพวก” ของลัทธิสังคมนิยมจากข้างบนนั้นดูจะไปได้ดีกับ ความเจริญเติบโตจากภายใน ตั้งแต่ความคิดของ บาเบิฟ ไปถึง แฮโรลด์ วิลสัน ที่ปึ่งจากนี้ไปความคิดอันเป็นรากฐานของสังคมจะต้องอยู่ ภายในกรอบความคิดเรื่องชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลุ่มเป็นคณะแกนนำของชนชั้นแรงงานและลดบทบาทความเป็นชนชั้นลงไป กรณีนี้ค่อนข้างแตกต่างกับ “สังคมนิยมจากข้างนอก” โดยพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอยู่ในยุคนี้ เพราะยุทธศาสตร์หลักอยู่ที่ฐานอำนาจนั้นมาจาก “ข้างนอก” ข้างนอก หมายถึง ไม่จำกัดตัวเองอยู่ในช่วงชั้นทางสังคมภายในประเทศ นี่จึงเป็นรูปแบบของชนชั้นปกครองที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในประเทศตะวันออก

พรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆมีความแตกต่างกับกลุ่มที่สร้างฐานอำนาจจากขบวนการเคลื่อนไหวภายในประเทศ ความโดดเด่นของพรรคคอมมิวนิสต์เหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่ การผลัดเปลี่ยนหรือรวมตัวกัน ของฝ่ายต่อต้านการ “ปฏิวัติ” กับฝ่ายนักยุทธศาสตร์ที่นิยมการแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการจากพวกชนชั้นนำ (ในแบบบนลงล่าง-ผู้แปล) ด้วยเหตุนี้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอเมริกาสามารถสลับขั้วจากที่มีจุดยืนแบบป้ายสุดขั้วใน “ช่วงที่ 3” คือระหว่างปี 1928-34 ไปสู่การเป็นนักยุทธศาสตร์ของการแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการจากพวกชนชั้นนำสุดขั้ว หรือบางครั้งก็อาศัยจังหวะการขึ้น-ลงของสงครามเย็นเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงระดับความผสมผสานและเลือกใช้ยุทธศาสตร์อันเหมาะสมที่สุด เมื่อถึงยุคที่ค่ายคอมมิวนิสต์ได้แบ่งออกเป็น 2 สายคือ สายมอสโคว และ ปักกิ่ง หรือที่เรียกว่า สาย “ลัทธิครุสเชฟ” และสาย “ลัทธิเหมา” ก็จะเห็นได้ว่าทั้งสองสายนี้ก็ใช้เลือกยุทธศาสตร์ ของ 2 แบบนี้ตามความเหมาะสมที่สุด

บ่อยครั้งที่เราจะพบว่านโยบายที่เป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์และแนวสังคมนิยมประชาธิปไตยมักจะมาบรรจบกันจนออกมาเป็นนโยบายตามแนวคิดการแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการจากพวกชนชั้นนำ ถึงจะมีความหลากหลายแตกต่างกันภายในความคิดของสังคมนิยมจากข้างบนก็ตาม

6.   สังคมนิยมจากที่อื่น /ข้างนอก - สังคมนิยมจากบนลงล่างที่มองการสร้างอำนาจเฉพาะส่วนยอดบนของสังคม ต่อไปเราจะพิจารณาอำนาจและการสร้างสังคมนิยมที่มาจากที่อื่น/ข้างนอกดังต่อไปนี้

เราต่างทราบกันดีว่าความเชื่อในเรื่องจานบินลึกลับนั้นมีมานานในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เช่นเดียวกับกับความเชื่อเรื่องผู้มาปลดปล่อยที่บัญญัติในศาสนาต่างๆมากมาย ความหมายของ “มาจากที่อื่น” ในความคิดความเชื่อเหล่านั้นหมายถึง “ที่อื่นนอกโลก” แต่สำหรับลัทธิสังคมนิยมโดยเฉพาะเรื่องการสร้างสังคมนิยมจากข้างนอกนั้นคำว่า “ที่อื่น/ข้างนอก” มันหมายถึงข้างนอกของการต่อสู้ทางชนชั้นในประเทศ ในยุโรปตะวันออกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น “ระเบียบใหม่” (อุดมการณ์สังคมนิยม) ได้รับการนำเข้าโดยเหล่าทหารราบของรัสเปียและสำหรับฝ่ายสังคมนิยมประชาธิปไตยในเยอรมันที่อยู่พลัดถิ่นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความกรุณาช่วยเหลือจากกองกำลังต่างชาติเพื่อมาปลดปล่อยประชาชนของพวกเขา

รูปแบบสำเร็จรูปต่างๆของความคิดสังคมนิยมในเวลาปกติสุข มักจะปรากฏในวิธีคิดแบบสำนักเพ้อฝันแบบเก่าที่วิธีคิดนี้ได้วางรากฐานแม่แบบให้สังคมอเมริกันหลายแห่งในยุคเริ่มต้นเพื่อเอาเป็นแบบอย่างในการสร้างสังคมของพวกเขา และความคิดนี้ก็ได้ตอกหน้าผู้ที่ไม่เชื่อมั่นในความคิดเพ้อฝันมานักต่อนักแล้ว ทุกวันนี้วิธีการส่งออก/นำเข้าลัทธิสังคมนิยมได้เข้ามาแทนที่การต่อสู้ทางสังคมในบ้าน และได้พัฒนาก้าวหน้ามาเป็นความคิดหลักของขบวนการคอมมิวนิสต์ในตะวันตกไปแล้ว

ตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือแนวทางของรัสเปีย (หรือจีนสายลัทธิเหมา) มันเป็นเรื่องยากที่จะทำให้กรรมาชีพรัสเปียหันไปมองชนชั้นแรงงานในตะวันตกด้วยความรู้สึกชื่นชมควรแก่การเอาอย่างไม่ว่าด้วยการบิดเบือนความจริงเท่าใดก็ตาม ดูเหมือนว่ามีหนทางในการพิจารณาประเด็นนี้อยู่ 2 ประการด้วยกันคือ

ก.     ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่มีอภิสิทธิ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นในด้านการจัดการสังคม คณะราชการและปัญญาชนที่รับใช้รัฐ ส่วนต่างๆเหล่านี้ที่อยู่ในระบบกรรมสิทธิ์ร่วมของสังคมรัสเปียดูจะขัดกับสภาพการณ์ในฝั่งตะวันตกอย่างเห็นได้ชัด ที่ส่วนประกอบต่างๆนั้นถูกแทนที่ด้วยการอยู่ในบังคับบัญชาของทุนที่เป็นเอกชนผู้มั่งคั่งทั้งสิ้น ณ จุดนี้จะพบว่าระบบเศรษฐกิจที่ควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยรัฐของโปเวียตนั้นมีภาพลักษณ์ของความเป็นสังคมนิยมโดยชนชั้นกลางพิเศษ ในที่นี้ก็เป็นไปเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับส่วนต่างๆของชนชั้นไม่ว่าจะเป็นปัญญาชนนักคิด นักเทคโนโลยี นักวิทยาศาสตร์ ลูกจ้างในงานด้านวิทยาศาสตร์ และนักบริหารงานแผ่นดินรวมไปถึงลูกจ้างรัฐในองค์กรต่างๆ คนเหล่านี้จะได้รับการยกฐานะให้เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครองที่มีอำนาจ มิใช่แค่พวกหน้าเงินผู้บ้าอำนาจเท่านั้น มากไปกว่านั้นก็ดำรงอยู่ในฐานะกลุ่มคนผู้มีอิทธิพลที่ไม่เป็นนายทุน แต่เป็นชนชั้นนำของสังคมลักษณะหนึ่ง

ข.     ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ยังคงรักษาภาพของความเป็นลัทธิมาร์กป์-เลนินเอาไว้ บรรดานักทฤษฎีที่มีจุดยืนสายสตาลินใหม่และไม่ได้ผูกมัดตัวเองอยู่ภายใต้ธงพรรคก็ต่างพากันแยกทางกับการสร้างภาพเช่นนั้น บรรดานักทฤษฎีเหล่านี้ต่างพัฒนาทฤษฎีของตัวเองโดยละเลยมุมมองเกี่ยวกับการปฏิวัติทางสังคมอย่างถึงที่สุด “การปฏิวัติครั้งใหญ่” สำหรับพวกเขาจะเกิดขึ้นจากรัฐคอมมิวนิสต์ที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น นี่อาจเป็นหลักการที่สำคัญจากความคิดของ 2 นักทฤษฎีสายสตาลินใหม่โดดเด่นออกมา โดย 2 นักคิดนี้ก็คือ พอล สเวปี่ และไอแปค ดัชเชอร์

ในหนังสือที่ชื่อ “ทุนนิยมผูกขาด” (1966) ของ บาราน และ สวีปี่ ได้ปฏิเสธความคิดของลัทธิมาร์กป์ดั้งเดิมที่ว่ากรรมาชีพในระบบอุตสาหกรรมจะเป็นผู้ที่โค่นล้มนายทุนผู้กดขี่ในที่สุด เขามองว่า “นอกจากกรรมาชีพในระบบอุตสาหกรรมแล้ว พวกเขาจะร่วมมือกับกลุ่ม “อื่นๆ” ในสังคมด้วย เช่น คนว่างงาน ลูกจ้างในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ คนอ่อนแอเหล่านี้ไม่มีทางที่จะรวมกันเป็นพลังที่จะเป็นแปลงสังคมได้” ถึง บาราน และ สเวปี่ จะมองว่าระบบทุนนิยมนั้นเข้มแข็งเกินกว่าที่จะถูกทำลายโดยกลุ่มต่างๆเหล่านี้ได้ แล้วไงล่ะ? บางทีผู้เขียนงานชิ้นนี้อาจจะย้ำความคิดของตัวเองอีกครั้งในหน้าสุดท้ายในงานของเขา เช่น “ไม่มีทางที่คนระดับล่างจะรวมตัวกันได้แน่ๆ” ผู้ที่อ่านงานชิ้นนี้คงเข้าใจระบบทุนนิยมว่า “จะถูกทำลายก็ต่อเมื่อเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ที่นำโดยประเทศสังคมนิยมต่างๆเท่านั้นจึงจะเกิดสังคมที่เป็นธรรมขึ้น” และเมื่ออ่านงานชิ้นนี้ต่อไปเรื่อยๆอีก 366 หน้า ก็จะเกิดความรู้สึกว่าเหมือนกำลังอ่านหนังสือแนวเวทย์มนต์แฟนตาปีที่คอยสะกดคนอ่านอยู่ทำนองนั้น

อีกมุมมองหนึ่งของความคิดสายสตาลินใหม่ที่มีหลักทฤษฎีแหลมคมกว่า คือในงานของ ดัชเชอร์ ที่ชื่อว่า “การแข่งขันอันยิ่งใหญ่” ดัชเชอร์ ได้ให้ภาพทางทฤษฎีเกี่ยวกับระบบใหม่ของโปเวียตตามทัศนะของเขาว่า “ทุนนิยมในตะวันตกจะทลายลงอย่างไม่แตกหักมากนักแต่ไร้ทิศทาง เนื่องมาจากวิกฤติในตัวของมันเองและความขัดแย้งต่างๆปึ่งจะไม่ทำให้ทุนนิยมพัฒนาไปยังขั้นต่อไปคือสังคมนิยมได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นรัฐคอมมิวนิสต์) มากกว่านั้น “อาจกล่าวได้ว่านี่จะนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าทฤษฎีการปฏิวัติถาวรนั้นล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง” ณ จุดนี้เราจะเห็นสิ่งที่เป็นสาเหตุเชิงทฤษฎีที่ว่าทำไมขบวนการคอมมิวนิสต์ที่มีอยู่ในฝั่งตะวันตกมานานนั้นไม่ต้องการที่จะให้คู่แข่งทางฝั่งตะวันออกขยายอิทธิพลเข้ามาได้ แต่เหนือทุกสิ่งแล้วทุกอย่างข้อสรุปที่เราเห็นชัดที่สุดก็คือมุมมองแบบสังคมนิยมจากเบื้องล่างกลายเป็นทฤษฎีที่แปลกแยกที่สุดแล้วก็ได้รับความนิยมน้อยที่สุดในหมู่นักคิดสายกรรมสิทธิ์รวมหมู่ ดูเหมือนว่าข้ออ้างที่ชัดที่สุดในการรักษาจุดยืนของพวกเขามีลักษณะเดียวกันกับนักคิดอเมริกันฝ่ายขวาที่ต้องการปกป้องระบบทุนนิยมเอาไว้

ความคิดของนักคิดสายสตาลินใหม่นี้มักจะวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของโปเวียตอยู่เสมอตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือในงานของ ดัชเชอร์ ผู้ที่ยังรักษาจุดยืนจับผิดรัฐเรื่อยมาไม่เหมือนนักคิดฝ่ายรัฐส่วนใหญ่ที่จะไม่วิพากษ์วิจาร์ณใดๆ พวกเขามักจะเป็นที่เข้าใจกันว่าคือพวก “ผู้นิยมการแทรกปึมความคิดสู่ขบวนการโดยชนชั้นนำผู้จงรักภักดีกับระบบกรรมสิทธิ์ร่วมของคณะราชการ” สิ่งที่เป็นภาพของ “สังคมนิยมจากที่อื่น/ข้างนอก” มักจะเกิดขึ้นเมื่อมองจากโลกทุนนิยมในกรอบใหญ่ และภาพของรูปแบบบนลงล่างที่คล้ายกับลัทธิเฟเบียนก็มักจะเกิดขึ้นเมื่อมองจากภายในระบบคอมมิวนิสต์ ในบริบทเหล่านี้ การเปลี่ยนแปลงจากข้างบนเท่านั้นที่กลายเป็นกระแสที่ใหญ่ที่สุดในหมู่นักทฤษฎีสังคมนิยมบนลงล่าง เช่นเดียวกับที่เคยเกิดกับ ปิดนีย์ เว็บบ์ มันมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจาก ดัชเชอร์ ที่โจมตีการปฏิวัติในเยอรมันปี 1953 และในการปฏิวัติฮังการี ปี1956 ด้วยความคิดที่เชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างแตกหักจากเบื้องล่างนั้นเป็นตัวปัญหาใหญ่ที่สุดของการก่อร่างสร้างตัวของระบบโปเวียตอันจะทำให้การพัฒนาสังคมแบบเป็นขั้นตอนไปสู่ “เสรีภาพ” นั้นล่าช้าลงไปด้วย

10. ถ้าเป็นคุณจะเลือกยืนข้างไหนล่ะ ?

ในมุมมองของปัญญาชนผู้มีทางเลือกมากมายที่จะเลือกข้างในการต่อสู้ทางชนชั้น จะพบว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ปัญญาชนส่วนใหญ่มักมีทัศนคติตรงข้ามกับพวกสังคมนิยมจากล่างสู่บน นอกเหนือไปจากปัญญาชนที่อยู่ในขบวนการแล้ว ปัญญาชนเหล่านั้นมองว่าคนส่วนใหญ่มักจะนิยมความคิดที่นำไปปฏิบัติได้ยาก เหนือความเป็นจริง “ยูโทเปียหรือเพ้อฝัน” อุดมคติแบบโรแมนติก ปึ่งก็เท่ากับเป็นการมองว่า มวลชนนั้นโง่ เสื่อมทราม ไม่กระตือรือร้น และสิ้นหวัง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าต้องมาจาก บุคคลเหนือมนุษย์ ปึ่งจะเป็นผู้ชี้ทางสว่างและหนทางดับทุกข์ ปึ่งนี่ก็ได้นำไปสู่การตีความทางทฤษฎีอันหลีกหนีไม่พ้นความเป็นกฎเหล็กของคณาธิปไตย หรือความชอบธรรมของกลุ่มชนชั้นนำ ปึ่งเป็นหนทางเดียวอันหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงที่มาจากข้างบนเท่านั้น

หากไม่ใส่ใจที่จะให้ค่ากับคำอย่างเช่น การต่อต้าน หรือ การเห็นพ้อง ในมุมมองทั่วไปแล้วนั้น การอ้างเหตุผลสนับสนุนในแบบแผนของความคิดแบบชนชั้นนำก็ค่อนข้างที่จะเป็นจริงได้ ในเวลา “ปกติ” เมื่อมวลชนหยุดนิ่งมันก็จะเข้าทางทฤษฎีนี้โดยปริยาย ความคิดที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างแตกหักต้องเกิดจากมวลชนข้างล่างก็ได้ยุติลงไปด้วย ในขณะที่นักทฤษฎีแนวชนชั้นนำได้ละทิ้งจุดยืนที่เคยเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผู้ปึ่งได้คาดการณ์ว่ามวลชนจะยังคงเป็นผู้ถูกกระทำต่อไปตราบใดที่มวลชนยังต้องเผชิญกับความน่าสะพรึงกลัวของสิ่งที่ต่อต้านการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ มวลชนก็จะล้มเลิกความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงที่อาจแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง และในที่สุดก็จะย่อท้อและนำไปสู่การมองว่า การเคลื่อนไหวของมวลชนจากเบื้องล่างของพวกเขานั้นคือสิ่งที่เลวร้ายในตัวเอง

ความจริงอยู่ที่ทางเลือกระหว่าง สังคมนิยมจากบนลงล่าง กับ สังคมนิยมจากล่างสู่บน สำหรับปัญญาชนแล้ว ทางเลือกเป็นเรื่องของ สำนึกทางศีลธรรม ในขณะที่มวลชนกรรมาชีพ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้อง ปัญญาชนมีโอกาสเลือกระหว่างจะเข้าร่วมการจัดตั้งกับขบวนการหรือไม่ก็ได้ ในขณะที่แรงงานมิได้มีทางเลือกเดียวกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับผู้นำแรงงานผู้ปึ่งก้าวอยู่เหนือมวลชนทั่วไป พวกเขาจะพบว่ามีโอกาสมากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือโอกาสที่มาจากแรงกดดันของชนชั้นปกครอง นั่นคือโอกาสที่จะเลื่อนฐานะทางสังคมของตัวเองที่มากพอจะยุติสายสัมพันธ์ระหว่างเขาและองค์กรของกรรมาชีพพื้นฐานให้ขาดสะบั้นลงได้ จึงย่อมไม่ใช่เรื่องยากสำหรับปัญญาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐในการเกลี้ยกล่อมตัวเองให้ยอมรับอำนาจและปรับตัวไปร่วมมือกับอำนาจรัฐ มากไปกว่านั้นมันก็จะง่ายมากขึ้นไปอีกถ้าหากว่ามีแรงจูงใจที่เป็นของกำนัลจากผู้ที่มีอิทธิพลและอำนาจเงิน

เป็นความจริงที่ดูน่าประดักประเดื่อพอสมควรเนื่องจาก “กฎเหล็กของคณาธิปไตย” เป็นกฎตายตัวสำหรับการเข้ามามีบทบาทของปัญญาชน ภายใต้สังคมชนชั้น ปัญญาชนไม่เคยทราบและเข้าใจถึงการลุกขึ้นสู้กับอำนาจรัฐเหมือนที่กรรมาชีพสมัยใหม่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องในห้วงของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ตลอดมาปัญญาชนมีส่วนช่วยให้ชนชั้นปกครองสร้างอำนาจได้เสมือนที่ปรึกษาทางความคิดผู้ปื่อสัตย์ การทำงานของปัญญาชนเปรียบดั่งการทำงานในฐานะที่เป็นมันสมองและชนชั้นกลางผู้ต้อยต่ำ แต่ว่ามีความขัดเคืองในความสัมพันธ์เช่นนี้อยู่มากพอควร เหมือนที่ทาสรับใช้ส่วนมากรู้สึกว่า “ข้าคือคนที่ฉลาดยิ่งนักเมื่อเทียบกับเจ้านาย แต่เมื่อใดที่มันกลับตาลปัตร เมื่อนั้นเราก็จะเห็นผิดเป็นชอบโดยยอมคุกเข่าให้ (เจ้านาย-ผู้แปล)” เมื่อใดก็ตามที่สังคมทุนนิยมได้แตกสลายลง เขา (ปัญญาชน) ก็จะฝันถึงสังคมในแบบที่พวกเขาฝันถึงอย่างที่ปัญญาที่อยู่ในสมองของเขาบงการ ปึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับอำนาจเงิน สังคมของพวกเขาและผู้ที่เป็นแบบเดียวกันกับเขาก็จะได้รับปลดปล่อยจากระบบกรรมสิทธิ์ทั้งปวงที่เคยมีในสังคมทุนนิยม และก็จะได้รับการปลดเปลื้องจากแรงแรงกดดันของมวลชนเบื้องล่างที่ถาโถมเข้ามาผ่านการพังทลายของประชาธิปไตย

ในความเป็นจริงฝันของพวกเขาก็ไม่ได้อยู่ไกลเกินไป เพราะรูปแบบของสังคมที่พวกเขาฝันถึงนั้นก็ปรากฏอยู่บ้างแล้วในเวลานี้ เช่น ในลัทธิการมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันของโลกตะวันออก (Eastern collectivism) ถึงแม้ว่าในความจริงอาจไม่เหมือนในความใฝ่ฝันของพวกเขาเสียทีเดียวแต่อย่างไรก็ตามก็มีคุณลักษณะบางอย่างที่สอดคล้องกับความคิดของพวกเขาไม่ว่าจะเป็น การฝันถึงการมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันของคณะราชการที่ “ดีงาม” ก็ปรากฏอยู่ให้เห็นในประเทศที่เข้าร่วมในสงครามเย็น ที่เรียกว่า “การปกครองแบบให้คุณความชอบแก่ผู้ทำดี” หรือ “การเน้นการบริหารจัดการรัดกุม” หรือ “อุตสาหกรรมนิยม” หรือในอเมริกาที่เรียกว่า คุณจะให้อะไรเรา หรือใน “สังคมนิยมแบบอัฟริกัน” ที่เกิดขึ้นในประเทศกานา และ “สังคมนิยมแบบอาหรับ” หรือสังคมนิยมในรูปแบบอื่นๆที่อยู่ในส่วนต่างๆของโลกใบนี้

โดยธรรมชาติของการที่จะเลือกระหว่าง สังคมนิยมจากบนลงล่าง กับ สังคมนิยมจากล่างสู่บน นั้นตั้งอยู่บนข้อถกเถียงว่า ในทุกวันนี้แนวทางใดที่สอดคล้องกับความคิดแบบเสรีนิยม, สังคมนิยมประชาธิปไตย และความคิดของ สตาลิน มากกว่ากัน เผด็จการอำนาจนิยมไม่ว่าในอัฟริกาหรือเอเชีย เช่น กรูมาห์ นัสเปอร์ หรือ ปูการ์โน ก็ล้วนแต่อ้างถึงความชอบธรรมของตนในการทำลายสหภาพแรงงานอันเป็นเหมือนคู่แข่งทางการเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้นประเทศเผด็จการอำนาจนิยมนี้ก็ขยายการกดขี่ขูดรีดแรงงานอย่างถึงที่สุดเพื่อเร่งรัดให้เกิดการสร้างอุตสาหกรรมตามความปรารถนาของตน นี่เปรียบเสมือนวงล้อที่ “ก้าวหน้า” ที่สุดที่ครั้งหนึ่งเคยต่อสู้กับความอยุติธรรมนานัปการ ปึ่งบัดนี้ได้กลับกลายมาเป็นผู้ที่ทำอะไรก็ไม่มีความผิด เนื่องมาจากการสร้างภาพของตนว่ามิใช่นายทุน ดังนั้นการกระทำของคนเหล่านี้จึงดูมีความชอบธรรมในทุกๆกรณี

นอกเหนือจากหลักการของแนวทางที่เชื่อว่าเรื่องของเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างมันก็จะเกิดสองประเด็นของคำถามที่จะให้ความกระจ่างชัดอย่างกว้างๆว่า:

1.    ในคำอ้างเรื่องเศรษฐกิจของเหล่าเผด็จการเบ็ดเสร็จ มักจะพยายามพิสูจน์ให้เห็นถึงความจำเป็นของการควบคุมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ทำให้ดูเหมือนว่า คณะบริหารชุดใหม่ของรัฐเหล่านี้อาจไม่ได้มีเหตุผลของการกระทำอยู่ที่การหวงรายได้และผลประโยชน์ของตนที่อาจจะต้องสูญเสียเท่าไรนัก ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเหตุผลนี้ดูจะไม่พอที่ทำให้แรงงานและครอบครัวของพวกเขายอมเสียสละถูกกดขี่มูลค่าแรงงานอย่างถึงที่สุดต่อไปอีกหลายชั่วอายุคนในการสะสมทุนที่มิได้เป็นไปเพื่อพวกเขาเอง (นี่เองกระมังที่ว่าทำไมการพัฒนาอุตสาหกรรมจึงต้องอาศัยการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จ)

หลักการของนักคิดที่เชื่อในเศรษฐกิจกำหนดมีรากฐานมาจากมุมมองของชนชั้นปกครอง มันสมเหตุสมผลแค่ “เพียง” สำหรับชนชั้นปกครองเท่านั้น แต่มันถูกทำให้กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องยอมรับว่าเป็นไปเพื่อความต้องการของ “สังคมส่วนรวม” ปึ่งทำให้แรงงานเองรู้สึกว่า “ต้อง” ต่อสู้กับการกดขี่ขูดรีดนี้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นคนของพวกเขา มายาคติเช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อทุนนิยมเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อครั้งที่ “รัฐสมัยใหม่กำลังพัฒนาตัวเอง” ในยุโรป

คำถามสำคัญของเรื่องนี้มิได้อยู่ที่เทคนิคการบริหารเศรษฐกิจ แต่อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกยืนฝ่ายใดในการต่อสู้ทางชนชั้นนี้ต่างหาก

2.    คำกล่าวอ้างที่ว่าประชาชนในประเทศเหล่านั้นล้าหลังเกินกว่าที่ควบคุมสังคมและรัฐของพวกเขา สิ่งนี้อาจจะไม่จริง แต่ประเด็นคือแล้วไงล่ะ? แล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้มวลชนหรือชนชั้นล่างลุกขึ้นสู้ในนามของพวกเขา ?

มีเพียงการต่อสู้เท่านั้น ด้วยการต่อสู้กับสิ่งที่กดขี่ขูดรีดทั้งปวง โดยเฉพาะการต่อสู้กับการกดขี่โดยคนที่บอกว่าพวกเขา (มวลชน-ผู้แปล) ยังไม่พร้อมที่จะมีอำนาจปกครอง มีเพียงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะสอนให้พวกเขาได้เรียนรู้หนทางที่พวกเขาจะเข้าถึงอำนาจนั้นได้ และมันไม่มีวิธีทางอื่นนอกจากวิธีนี้แล้ว

ถึงขั้นนี้เรามี 2 ตัวเลือกเพื่อสร้างความยุติธรรมให้ปรากฏขึ้น ตัวเลือกทั้ง 2 นี้เท่านั้นที่ปรากฏอยู่ไม่ว่าจะในที่แห่งใดหรือประเทศใดก็ตามในโลกนี้ คือ ตัวเลือกระหว่าง จะสร้างสิ่งที่ก้าวหน้ากว่า หรือ ปรับปรุงแก้ไขของเก่า, ลัทธิทุนนิยม หรือ ลัทธิสตาลิน เมื่อการประท้วงของขบวนการคนผิวสีทำให้ประธานาธิบดีจอห์นสันต้องเกรงกลัวต่อฐานคะแนนเสียง คำถามอยู่ที่ว่า คุณจะเลือกข้างไหน? เมื่อชาวฮังการีทำการต่อต้านการคุกคามของรัสเปีย คำถามอยู่ที่ว่า คุณจะเลือกข้างไหน? เมื่อชาวอัลจีเรียต่อสู้กับรัฐบาล “สังคมนิยม” ของ กีต์ โมเลต์ เพื่อเรียกร้องเอกราช คำถามอยู่ที่ว่า คุณจะเลือกข้างไหน? เมื่อคิวบาถูกบุกรุกโดยรัฐบาลหุ่นเชิดจากวอชิงตันคำถามอยู่ที่ว่า คุณจะเลือกข้างไหน? และเมื่อสหภาพแรงงานของกรรมาชีพคิวบาถูกครอบงำโดยผู้แทนจากรัฐบาลเผด็จการของคาสโตร คำถามก็ยังอยู่ที่ว่า คุณจะเลือกข้างไหน?

ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสังคม มันไม่เคยมีข้อเสนออันเป็นจุดจบของทฤษฎีใดที่ “พิสูจน์” ได้ว่า การเกิดขึ้นของทรราชนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็ไม่มีอะไรจะมายืนยันได้ว่า เสรีภาพในรัฐประชาธิปไตยไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันมันก็ไม่มีอุดมการณ์ความคิดใดๆที่เหมาะสมที่สุดสำหรับชนชั้นปกครองและปัญญาชนของชนชั้นปกครองที่จะยึดถืออุดมการณ์นั้นอย่างไม่ลืมหูลืมตาเช่นกัน ทั้งหมดนี่คือแรงปรารถนาและการคาดการณ์ส่วนตัว ตราบเท่าที่ความจริงยังคงเป็นสิ่งที่ผู้คนสร้างขึ้นมา สำหรับการวิเคราะห์สุดท้ายนี้ หนทางเดียวเท่านั้นที่จะพิสูจน์ว่าสิ่งที่ใครๆได้กระทำเป็นสิ่งผิด คำตอบของมันก็ถูกตัดสินด้วยการต่อสู้ที่เกิดขึ้นเท่านั้น การต่อสู้จากข้างล่างไม่เคยถูกจำกัดแค่ในกรอบของทฤษฎีที่มาจากข้างบน และการต่อสู้จากข้างล่างนี้เองที่ได้เปลี่ยนโลกมานับครั้งไม่ถ้วน หากจะเลือกรูปแบบของสังคมนิยมจากข้างบน เราก็ต้องมองย้อนกลับไปศึกษาบทเรียนของโลกในอดีต “อดีตอันเลวร้าย” แต่หากเราเลือกหนทางของสังคมนิยมจากล่างสู่บน เราก็ต้องเริ่มจากความเชื่อมั่นว่า เราสามารถที่จะสร้างโลกใบใหม่ที่ดีกว่าได้


* บันทึกจาก สองวิญญาณของสังคมนิยม ตีพิมพ์โดย องค์กรสังคมนิยมสากล, ไฮแลนด์ ปาร์ค, มิชิแกน, ฉบับปรับปรุงแล้ว, พิมพ์ครั้งที่สี่ ในปี 1970 (Note from The Two Souls of Socialism International Socialists, Highland Park, Michigan, revised edition, fourth printing 1970)

บทความนี้เขียนขึ้นใหม่เสร็จสมบูรณ์ และเป็นฉบับเพิ่มส่วนที่ขยายของการศึกษาปึ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในวารสารของนักศึกษาที่ชื่อว่า Anvil (Winter 1960) และถูกพิมพ์ป้ำอีกสองและสามครั้งในที่อื่น โดยกรอบการนำเสนอ, เนื้อหาโดยทั่วไป และหลายๆย่อหน้าได้คงของเดิมไว้ แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่จะปรับแก้ใหม่จากร่างแรกที่เขียนออกมาอย่างรีบเร่ง

เป้าหมายไม่ใช่การเล่าประวัติศาสตร์ของสังคมนิยม แต่เป็นการนำเสนอ-การนำเสนอที่เกิดจากการตีความเชิงประวัติศาสตร์ของความหมายของสังคมนิยม และชี้ให้เห็นว่าทำไมสังคมนิยมจึงมีความหมายเช่นในปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอันนี้ ข้าพเจ้าเลือกเอาเพียงส่วนเสี้ยวที่สำคัญที่สุดของสังคมนิยมที่จะช่วยให้เราเข้าใจเหตุการณ์ในต้นศตวรรษที่ 20 นี้ อันเนื่องมาจากสิ่งที่เราศึกษาค้นคว้านั้นก็คือ การเบ่งบานของขบวนการสังคมนิยมสมัยใหม่ มันมีข้อจำกัดมากมายที่ทำให้เราศึกษาประเด็นนี้อย่างรวบรัดได้ยาก และเราก็ไม่สามารถจะพูดได้ทุกประเด็น เช่น แนวสหภาพแรงงาน แนวทางแบบเดอลีออง, แนวบอลเชวิค, ไอดับบลิวดับบลิว, แนวเสรีนิยมที่เน้นส่วนรวม เป็นต้น แต่ข้าพเจ้าก็เชื่อว่า การศึกษาอันนี้ของข้าพเจ้าจะนำไปสู่ข้อสรุปบางประการ

ความยากที่สำคัญในการศึกษาประเด็นนี้อย่างรวบรัดก็คือ การเขียนแนววิเคราะห์ที่หนักหน่วงมากกว่าที่จะเขียนเล่าประวัติศาสตร์ของแนวคิดสังคมนิยม ในส่วนตอนจบนั้น ข้าพเจ้าได้ให้ชื่อหนังสือที่จะมีประโยชน์ต่อการค้นคว้าในประเด็นนี้ โดยเฉพาะสำหรับผู้อ่านที่สนใจจะกลับไปสู่งานชั้นต้น มันไม่มีประวัติศาสตร์ของช่วงครึ่งศตวรรษหลังของแนวคิดสังคมนิยมที่ยังหลงเหลือในวันนี้ และก็อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีงานวิชาการของนักสังคมนิยมที่ทำหน้าที่ตรงนี้อย่างที่ อี พี ทอมป์สัน ได้เคยทำไว้สำหรับ วิลเลียม มอร์ริส ผู้ปึ่งภาพของเขาได้ถูกลบออกไปเกือบทั้งหมดโดยมายาคติอันมากมาย

เมื่อพูดถึง วิลเลียม มอร์ริส ข้าพเจ้าได้อ่าน “ความฝันของ จอห์น บอล” ใหม่อีกครั้ง และเมื่อมาถึงที่อ้างอิงในจุดเดิมอีกครั้งหนึ่งในย่อหน้าอันหนึ่ง ปึ่งในวันนี้ข้าพเจ้าจะยกคำขวัญอันนั้นมาพูดอีกครั้ง “...ข้าพเจ้าไตร่ตรองสิ่งต่างๆเหล่านี้ทั้งหมด และเมื่อเราต่อสู้และพ่ายแพ้ในสนามรบ และเมื่อสิ่งต่างๆที่เราต่อสู้เพื่อจะได้มันมานำมาสู่ความพ่ายแพ้ และเมื่อมันสิ่งที่เราไม่ต้องการได้เกิดขึ้น แต่คนอื่นๆก็จะไม่ยอมแพ้และต่อสู้เพื่อมันต่อไป แม้พวกเขาจะใช้ชื่ออื่นๆเรียกมันก็ตาม...”

อ้างอิงเพิ่มเติม

จากที่ได้กล่าวไว้ในบันทึกคือหัวข้อที่มีประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ แต่สำหรับคำถามสำคัญที่มีอยู่ในบันทึกดังกล่าว ควรจะย้อนกลับไปศึกษาถึงแหล่งที่มาดังต่อไปนี้:

สำหรับความคิดในบทที่ 1 งานเขียนที่ควรค่าแก่การศึกษาในประเด็นนี้คืองานของ เอ ดี วิสเปียร์ ที่ชื่อ The Genesis of Plato's Thought ในงานชิ้นนี้ยังรวมถึงบทสนทนาของปิทากอรัสบางประเด็นด้วย สำหรับความคิดของพรูดอง โปรดดูบทความของ เจ เอส ชาปิโร ที่ชื่อ Liberalism and the Challenge of Fascism และในงานของพรูดองเองที่ชื่อว่า Carnets สำหรับความคิดของบาคูนิน โปรดดู อี ไพปูร์ ในงานที่ชื่อว่า The Doctrine of Anarchism of M.A. Bakunin ร่วมกับอัตชีวประวัติของ อี เอช คาร์ เพื่อเป็นการให้ภาพคร่าวๆ สำหรับความคิดของลาสปาล โปรดดูในงานของเบิร์นสไตน์ที่ชื่อว่า F. Lassalle as a social Reformer และดูเพิ่มเติมใน อัตชีวประวัติของ ดี ฟุตแมน สำหรับความคิดของลัทธิสังคมนิยมแบบเฟเบียน โปรดดูงานขนาดกะทัดรัดกึ่งตีพิมพ์ของ เอ เอ็น แม็คแบลร์ ที่ชื่อว่า Fabian Socialism and English Politics นอกจากนี้ยังหาดูได้ในงานวิทยานิพนธ์ที่ไม่ได้ตีพิมพ์ของ อี เจ ฮ็อปสบอวม์ ที่ชื่อ Fabianism and the Fabians และที่สำคัญยิ่งควรจะศึกษาความคิดของ โรป่า ลักเปมเบิร์ก โปรดดูในอัตชีวประวัติของ พอล โฟรริช และหาดูได้ในงานของ โทนี่ คลิฟ เล่มขนาดบางที่ขึ้นต้นด้วยชื่อของเธอ และสำหรับความคิดของ เบลลามีและ โกรนลุ่นด์ โปรดดูในงานวิทยานิพนธ์ที่ไม่ได้ตีพิมพ์ของ อาเธอร์ ลิพาว ที่ชื่อ Edward Bellamy and the Nationlist Movement (Berkeley, Univ. of Calif., 1965)

2 บทความที่เหลือเขียนขึ้นโดยข้าพเจ้า (ฮาล เดรเปอร์) ใน New Politics ในบางมุมมองเกี่ยวกับ “Neo-Corporatists and Neo-Reformists” และใน “The New Social-Democratic Reformism” และนอกจากนี้โปรดดูร่วมกับงานที่ตีพิมพ์ทั้ง 2 ชิ้นโดยคณะกรรมการสังคมนิยมเสรี (Independent Socialist Committee) ที่ชื่อ Independent Socialism: a Perspective for the Left ( หนังสือเล่มเล็ก) และใน Introduction to Independent Socialism ( งานขนาดสั้น)

ฮาล เดรเปอร์


1 แท้ที่จริง จังหวะก้าวแห่งการผสมผสาน ผู้ที่ใช้นิยามคนแรกคือ เจอราร์ด วินสแตนลีย์ และ “ กลุ่มผู้รักษาระดับ”ในปีกป้ายของการปฏิวัติอังกฤษ แต่ถูกลืมและไม่ถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์

2 ในเครื่องหมายคำพูดดังกล่าวคัดมาจากในงานอัตชีวประวัติของ เอช จี เวลล์ ผู้ที่เป็นนักคิดสำนักสังคมนิยมยูโทเปียจากบนลงล่างแนวสุดขั้ว ในที่นี้เวลล์ได้มองว่ามาร์กป์เป็นดังที่เขากล่าวไว้